การใช้งานอินเตอร์เน็ตหลายเส้น เป็นที่นิยมเพราะนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยประหยัดและลดค่าใช้จ่ายลงได้ หลายไซต์งานลดการเช่าสายการสื่อสารที่มีราคาสูง โดยการสมัครใช้งานเน็ตหลายเส้นเพื่อทำการสำรองกรณีอินเตอร์เน็ตเส้นใดใช้งานไม่ได้ก็ยังใช้เส้นที่เหลืออยู่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ หรือกรณีที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก ก็สามารถกระจายการใช้งานออกไปในการเชื่อมต่อคนละเส้น
Mikrotik สามารถจัดการ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหลายเส้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลากหลายรูปแบบที่ครอบคลุมการใช้งานทุกด้านที่นิยมใช้งาน และตัวอุปกรณ์เองมีราคาไม่สูง หรือจะเรียกว่าถูกมากเมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่นที่มีในอุปกรณ์ในระดับเดียวกัน
ถ้าจะมีข้อจำกัดในการนำ Mikrotik มาใช้งานแบบอินเตอร์เน็ตหลายเส้นได้แบบเสถียรและไม่มีผลข้างเคียง ก็คงเป็นเรื่องของ Know How ที่ใช้ในการตั้งค่าอุปกรณ์ ที่คนตั้งค่าต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วพอสมควร
คอร์สนี้จึงเป็นคอร์สที่ออกแบบมาเพื่อขจัดข้อจำกัดดังกล่าว และยังคงเอกลักษณ์คอร์สออนไลน์ของ Mikrotik Tutorial คือไม่ได้บอกแค่วิธีการตั้งค่าเพียงอย่างเดียว แต่เริ่มจาก
-
การปูพื้นฐานความรู้ที่ควรต้องทราบ เพื่อกรณีนำไปใช้หน้างานจริง ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันจะได้เข้าใจในการปรับแต่ง หรือแก้ไขปัญหาได้เอง
-
การอธิบายด้วยภาพประกอบจำนวนมาก เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายในการเรียนรู้
-
เทคนิคการนำไปใช้งานไม่ได้อยู่แค่การแยกใช้เป็นตัวๆ แต่ต้องนำหลายเทคนิคไปร่วมใช้งานพร้อมกันได้บนอุปกรณ์ตัวเดียวกัน
-
ตัวอย่างสำเร็จรูปในการนำไปประยุกต์ใช้งานแบบต่างๆ จากประสบการณ์ที่เคยติดตั้งงานจริงจากวิทยากร
การเรียนคอร์สนี้เป็น video on demand สามารถเข้าทบทวนได้บ่อยตามต้องการ มีไลน์กลุ่มเพื่อสอบถามกรณีมีข้อสงสัยจากการเรียนและจัดส่งเอกสารประกอบการอบรมให้ทางไปรษณีย์
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเรียนมีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง สายแลน 3 เส้น และอุปกรณ์ Mikrotik 2 ตัว โดยอุปกรณ์ Mikrotik ในกรณีทำ Lab ทดสอบ สามารถใช้รุ่นใดก็ได้ แม้แต่รุ่นเล็กที่สุด หรือถ้ายังไม่มีอุปกรณ์ ก็สามารถใช้ระบบ Virtualization เช่น VirtualBox ในการจำลองแล็ปเพื่อเรียนได้เช่นกัน
ค่าลงทะเบียนคอร์สออนไลน์ : Mikrotik Load Balance + ใช้งานเน็ตหลายเส้น : 3,900 บาท/ท่าน
ติดต่อลงทะเบียนอบรม และ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mikrotik https://bit.ly/MikrotikLineOa
ยืนยันชำระค่าอบรมที่ ลิงค์ https://mikrotiktutorial.com/register/
โครงสร้างหลักสูตร
- สิ่งควรทราบก่อนเรียน
- ผู้เข้าเรียนคอร์สนี้เป็นคอร์สระดับสูง ผู้อบรมควรมีความรู้เบื้องต้นเรื่องเน็ตเวิร์ก และทราบวิธีตั้งค่า Mikrotik ดีแล้วประมาณหนึ่ง สำหรับผู้เริ่มใช้ MikroTik แนะนำลงทะเบียนพร้อมคอร์สเบื้องต้น Mikrotik Level1 เพื่อปูพื้นฐานก่อน
- Module 1 – การเตรียมอุปกรณ์เพื่อทำ Labs
- Module 2 – คำถามพบบ่อย ของการใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 1 เส้นบน Mikrotik
- ทำไมการใช้ Internet มากกว่า 1 เส้นบน Mikrotik ถึงมักมีปัญหา
- อะไรที่ทำให้ทำ Load Balance แล้วทดสอบได้ความเร็วสูง แต่ใช้งานจริงกลับใช้ไม่ได้?
- ข้อผิดพลาดที่เจอบ่อยๆ ในการตั้งค่าการใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 1 เส้น
- ทำไมการใช้อินเตอร์เน็ตหลายเส้นมากไป ไม่ทำให้เน็ตเร็วขึ้น
- Module 3 – วิธีการตั้งค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- การตั้งค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ
- PPPoE
- DHCP Client
- Fix IP
- การใช้เน็ตหลายเส้นที่มีวิธีเชื่อมต่อผสมกันหลายวิธี เช่น PPPoE ผสม DHCP Client
- การตั้งค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ
- Module 4 – พื้นฐานควรทราบก่อนใช้อินเตอร์เน็ตหลายเส้น
- IP Firewall Connection
- ใช้ความรู้เรื่อง IP Firewall Connection ในการเพิ่มประสิทธิภาพ Router
- พื้นฐานเรื่อง Chain ใน IP Firewall Mangle
- Routing Fundamental
- Routing Distance
- Route Table
- CDN
- การตั้งค่าในกรณีขา Wan ทั้ง 2 เส้น มี Gateway ที่เป็น IP Address เดียวกัน
- การใช้ Route Interface
- Module 5 – เทคนิคการตั้งค่าแบบเน็ตหลายเส้นให้มีความสเถียร
- Module 6 – Fail Over
- Module 7 – Fail Over ขั้นสูง ด้วย Recursive Routing
- Scope
- Target Scope
- ข้อจำกัดของ Recursive Routing
- เทคนิคการทำ Recursive Routing มาใช้กับเน็ตทั่วไปที่ไม่มี Fix IP
- Module 8 – Policy Base Routing
- Routing Table
- การทำ PBR ด้วย การ mark ด้วย firewall mangle
- การทำ PBR ได้ และง่ายกว่าด้วย Routing Rules
- Module 9 – รู้จักกับประเภทของ Load Balance
- Load balance แบบ Per-Connection
- Load balance แบบ Per-Packet
- Module 10 – Load Balance ชนิด Equal-cost multi-path routing (ECMP)
- Module 11 – Load Balance ชนิด NTH
- Module 12 – Load Balance ชนิด Per connection classifier (PCC)
- Module 13 – Load Balance ชนิด Bandwidth on demand
- Module 14 – ความแตกต่างในการตั้งค่าระหว่าง RouterOS6 และ RouterOS7 ในการใช้งานแบบอินเตอร์เน็ตหลายเส้น
- Route Table
- ECMP
- Recursive Routing
- Module 15 – การทำ DDNS Fail Over
- Module 16 – การใช้ Load Balance และทำ Policy Base Routing บน Mikrotik ตัวเดียวกัน
- Module 17 – ตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน
- ใช้เน็ต 2 เส้น เส้นหนึ่งล่ม อีกเส้นทำงานแทน
- ใช้ 4G เป็นเน็ตสำรอง กรณีเน็ตหลักล่มให้ออกทาง 4G
- การกระจายการใช้งานแผนกต่างๆ ภายในออกเน็ตหลายเส้น
- กระจายการใช้งานจากภายนอก เช่น เส้นหนึ่งใช้เชื่อม VPN และอีกเส้นใช้ดู CCTV
- การใช้ภายในผสมภายนอก เช่น การใช้เน็ตภายในหนึ่งเส้น การเชื่อม VPN จากภายนอกหนึ่งเส้น
- Module 18 – การนำหลายๆ เทคนิคมาใช้งานร่วมกัน
- Lab เดียว นำเอาเทคนิคที่เรียนมาใช้งานร่วมกันบน Mikrotik ตัวเดียวกัน
- เชื่อมเน็ต ผสม PPPoE / DHCP Client / Fix IP
- สร้างความสเถียรบน Multi-Wan
- Fail Over ขั้นสูง (Recursive Fail Over) ด้วย Dynamic IP
- กระจาย Traffic การใช้งานออกไปเน็ตหลายเส้น ด้วย Policy Base Routing หรือ Load Balance
- Lab เดียว นำเอาเทคนิคที่เรียนมาใช้งานร่วมกันบน Mikrotik ตัวเดียวกัน