เนื้อหา/บทความ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ SSL Certificate ในปี 2023

– กรณีศึกษาการตั้งใจ “หลอก” ออก Certi ให้คล้ายกัน
– กูเกิลเสนอจำกัดอายุ TLS Cert เหลือ 90 วัน รับมืออย่างไร
– ACME Protocol เพื่อขอ TLS Certificate โดยอัตโนมัติ

pjk

August 21, 2023

รายงาน Traffic อัตโนมัติทาง LINE ด้วย Mikrotik Container

Live เดียวที่ให้ความคุ้มค่ามาก เพราะจะได้ นอกจาก – จะได้ระบบรายงานกราฟการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่กำหนดให้ส่งได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แล้วยังได้ – วิธีใช้ Mikrotik Container – วิธีใช้ Line Notification / Telegram

pjk

April 27, 2023

สรุป เนื้อหาคอร์ส Proxmox Advance 1 โดย อ.ภูเขา พงษ์สุวรรณ

ในคอร์ส Proxmox Advance1 ได้รวมเนื้อหาที่ถ้าศึกษาด้วยตัวเอง น่าจะไม่ได้ใช้เวลาหลายเดือน แต่อาจจะใช้เวลาเป็นปี เป็นเนื้อหาที่…

pjk

April 27, 2023

วิธีตั้งค่า WiFi6 แบบใหม่ของ Mikrotik

อุปกรณ์ Mikrotik รุ่นใหม่ที่รองรับ WiFi6 จะมีหน้าตาวิธีการตั้งค่าที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งจริงๆ แล้วการตั้งค่าเรียบง่ายตรงไปมามากกว่าเดิม และสามารถที่จะทำ profile เอาไว้เพื่ออะไรที่ซ้ำๆ กันก็กำหนดอ้างอิงร่วมกันจากจุดเดียวกันได้ ทำให้การดูแลภายหลังสะดวกขึ้น

pjk

April 22, 2023

แนะนำคอร์สออนไลน์ Proxmox Advance1

เนื้อหาคอร์สขั้นสูง-1 นี้จะนำประสบการณ์และสิ่งที่เราเกือบทุกคนต้องใช้ เมื่อระบบทำงานไปซักระยะแล้ว เช่น ฮาร์ดดิสก์เต็มทำอย่างไร? ฮาร์ดดิสก์เต็มมีแบ่งออกเป็น เต็มแท้ และเต็มเทียม แตกต่างกันอย่างไร? เรียกคือพื้นที่อย่างไร และเทคนิคอื่นๆ อีกมากครับ 😊

pjk

April 13, 2023

แนะนำคอร์สออนไลน์ Proxmox Essential

Proxmox Virtualization ที่กำลังมาแรง มีความยืดหยุ่น และเสถียรสูง ใช้ได้ตั้งแต่เครื่อง mini PC ที่กินไฟต่ำ เอามาใช้เป็น Network appliance ไปจนถึงงานระดับ Clustering/High Availability

pjk

February 27, 2023

เทียบความเร็ว VPN ระหว่างกด next อย่างเดียว กับการเข้าใจและปรับตัวแปรได้

บางส่วนของคลิปบทที่ 7-6 จากคอร์สออนไลน์ Mikrotik Routing and VPN ที่ไม่ได้มีแค่วิธีการสร้าง VPN แต่อธิบายถึงรายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้เข้าใจระบบ Routing และปรับแต่งค่าให้การเชื่อม VPN ออมาเสถียรและวิ่งได้เต็มประสิทธิภาพ

pjk

January 10, 2023

ลองจับ Mikrotik hAP ax3

สิ่งที่หลายคนอย่างให้มีใน hAP ax2 มีแล้วใน hAP ax3 นั่นก็คือ 2.5Gbps Ethernet, USB 3.0, สายอากาศ WIFI กำลังสูงขึ้น และอีกหนึ่งปริศนาก็คือ กำลังในการประมวลผลที่ Mikrotik ยังเขียนแบบคลุมเครือ ว่าจริงๆ แล้วมันเร็วเท่ากับ หรือว่าเร็วกว่า hAP ax2 กันแน่ ^_^

pjk

January 6, 2023

Free Cloudflare DDNS for Mikrotik โดย อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย

คลิปของขวัญปีใหม่จาก อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย แก้ปัญหาความไม่สเถียร IP Cloud Mikrotik ด้วยบริการที่ทั้งดีและฟรีของ Cloudflare เพียงแค่มี domain name อยู่แล้ว หรือจะจดใหม่ก็มีค่าใช้จ่ายไม่มาก โดยจะจดกับผู้ให้บริการทั่วไป หรือจะจดกับทาง Cloudflare เลยก็ได้

pjk

December 30, 2022

แนะนำคอร์สออนไลน์ Mikrotik Routing and VPN

ช่วงปีใหม่นี้ มาเพิ่มทักษะกับคอร์สออนไลน์เรื่อง Routing กับ VPN กันครับ เนื้อหาจะไม่ได้อยู่แค่เพียงการตั้งค่า แต่จะปูตั้งแต่พื้นฐานที่ควรทราบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและหากพบปัญหาหน้างานที่มีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน เราจะสามารถไล่หาสาเหตุเพื่อทำให้การตั้งค่าที่ต้องการนั้นลุล่วงไปได้

pjk

December 26, 2022

ตั้งรหัส WiFi อย่างไรถึงปลอดภัย?

เราสามารถใช้โปรแกรมช่วยแกะรหัสผ่าน ที่มีความเร็วในการแกะรหัสผ่านสิบล้านรหัสได้ในเวลาไม่ถึง 5 นาทีด้วย CPU หรือ 50 วินาที ด้วย GPU ถ้าอย่างนั้น เราจะตั้งรหัส WiFi อย่างไร ให้มีความความทนทานต่อการใช้โปรแกรมช่วยแกะรหัสผ่านเหล่านี้?

pjk

December 19, 2022

ใช้ WireShark ดักข้อมูล WiFi เห็นอะไรบ้าง?

แค่เราไปนั่งอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณ WiFi โดยไม่จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อ WiFi เราก็สามารถดึงข้อมูลที่อยู่ในอากาศมาดูได้แล้ว ลองมาดูกันครับว่าข้อมูล WiFi ที่วิ่งอยู่ในอากาศเรามองเห็นอะไรในนั้นบ้าง 😄

pjk

December 17, 2022

4way handshake ในระบบการเชื่อมต่อ WiFi คืออะไร

หนึ่งใจขั้นตอนที่สำคัญของการสื่อสาร WiFi ให้มีความปลอดภัย ก็คือขั้นตอนการทำ 4way handshake ระหว่างอุปกรณ์กับ Access point – ว่าแต่ขั้นตอนที่ว่านี้มีไว้เพื่อทำอะไร มาฟังคุณเอ็ด ผู้เชี่ยวชาญจาก SiamWireless มาเล่าให้ฟังกันครับ

pjk

December 14, 2022

การจัดการ Access Point แปลกปลอมในระบบอย่างไร?

สัญญาณ WIFI ใครก็สามารถปลอมตัวเข้ามาในระบบเราได้ โดยเราเรียกพวกนี้ว่า Rogue AP ถ้าเราใช้ Access Point เก่งๆ เราจะไม่ใช่แค่เป้านิ่ง แต่สามารถตอบโต้กลับไปได้ด้วย, มาดูขั้นตอนการตอบโต้แบบชัดๆ ใน WireShark โดยคุณเอ็ด จาก Siam Wireless กันครับ 😄

pjk

December 10, 2022

Rogue AP คืออะไร ในระบบ WiFi

บางท่านอาจจะเคยได้รับคำเตือนจากระบบ WiFi ของ Ubiquiti Unifi หรือระบบ WiFi ชั้นนำอื่นๆ ที่มีระบบตรวจจับ Rogue AP – ว่าแต่เจ้า Rogue AP คืออะไร? มาฟัง อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ให้คำตอบเรื่องนี้กันครับ 😄

pjk

December 8, 2022

เจาะลึก WIFI Roaming 802.11r/k/v by Ed SiamWireless

มองเห็นการทำงานของ WIFI แบบจับต้องได้ ด้วยการใช้ WireShark ดูว่า ตอนที่เราเชื่อมต่อ WIFI ไม่ว่าจะเป็น Open/WPA หรือ EAP มีขัั้นตอนการสื่อสารระหว่าง Client และ Access Point อย่างไร และเมื่อเรานำมาตรฐาน WiFi Roaming 802.11r/k/v เข้ามาใช้ มาตรฐานดังกล่าวช่วยในขั้นตอนส่วนไหนบ้าง

pjk

December 5, 2022

ทำ mini PC ราคา 2,xxx บาท ให้เป็น Router ความเร็วสูง

ตอนนี้มี mini PC มือสองราคาไม่สูง แต่สามารถเอามาทำเป็น router ประสิทธิภาพสูงได้สบายๆ แถมยังกินไฟไม่มาก (ตัวที่เคยเอามาลอง กินไฟเพียง 11watts)
คุณ @PooH! เลยจะมาบอกวิธีนำ Mikrotik รุ่น Cloud Host (CHR) มาติดตั้งบน mini PC ด้วย Proxmox เพื่อเปลี่ยน mini PC ให้กลายเป็น Router ประสิทธิภาพสูงกันครับ 😄

pjk

December 1, 2022

แกะกล่อง hAP ax2 – อุปกรณ์ WiFi6 รุ่นแรกจาก Mikrotik

มาถึงมือแล้วกับสินค้าล๊อตพิเศษก่อนของจริงจะเข้ามาจำหน่าย เพิ่งมาถึงเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมา เอามาแกะกล่องกันก่อนจะลองเล่นเพื่อตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และสิ่งที่เปลี่ยนไปจาก hAP ac2 อุปกรณ์รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ที่รุ่นนี้ออกมาเพื่อต่อยอดความสำเร็จขึ้นไปอีก 😄

pjk

October 15, 2022

PON ดียังไง? (Passive Optical Network, OLT/ONU)

ทำไม ISP จึงเลือกที่จะใช้ระบบ Passive Optical Network แทนที่จะเป็นระบบ Active อย่างที่เรารู้จักกันทั่วไป – อุปกรณ์ในระบบ Passive เริ่มหาซื้อได้ทั่วไป จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีเราควรรู้จัก เพราะในงานรูปแบบ ระบบนี้จะเหมาะกว่าการใช้อุปกรณ์ Active แบบเดิมๆ ระบบ PON นี้มีข้อดี ข้อด้อย อย่างไร วันนี้แขกรับเชิญของเรา คุณจั๊ก จะมาเล่าให้เราฟัง พร้อมกับ อ.โก้ ที่ได้ออกแบบและกำลังจะเอาไปติดตั้งใช้งานกับโรงเรียนที่มีนักเรียนหลายพันคน

pjk

October 12, 2022

CLOUDFLARE TUNNEL ตอนที่ 2

หนึ่งในสุดยอดบริการจาก CloudFlare ที่เปิดให้เราใช้ทรัพยากรของ CloudFlare เพื่อเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กเราได้อย่างสเถียร ไม่ต้องมี Public IP เมื่อเทียบกับ 1 ปีที่แล้ว ตอนนี้ CloudFlare Tunnel ต่อยอดทั้งความง่ายและเรื่องใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นไปหลายอย่าง จนวันนี้ต้องหยิบเรื่องนี้มาคุยกันอีกครั้ง

pjk

September 25, 2022

RouterOS7 – เรื่องที่อยากรู้และถามบ่อย

ในหัวข้อ RouterOS7 กับเรื่องที่มีคนถามกันบ่อยและอยากรู้กัน ทั้ง
🔹มีอะไรปรับปรุงดีขึ้นบ้าง
🔹implement งานวันนี้ควรใช้ 7 เลยหรือใช้ 6 ดี
🔹อุปกรณ์รุ่นไหนบ้างที่อัพเกรดได้
🔹ก่อนอัพเกรดควรทราบอะไร
🔹ฯลฯ
พบกับ อ.ตะวัน Tawan Thongpook, อ.โก๋ Supadej Suthiphongkanasai และผม Pongpipat Thunyawiraphap กันครับ 🙂

pjk

September 7, 2022

hAP ax2 – Wi-Fi6 ตัวแรกจาก Mikrotik

Wi-Fi 6 ตัวแรกของ Mikrotik เปิดตัวแล้ว แถมยังเปิดตัวใน Series ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่าง hAP ax2
hAP ax2 ยังคงข้อดีตาม hAP ac2 เดิมไว้ทุกอย่าง แต่เพิ่มเติม features ใหม่ๆ โดนใจอย่าง

pjk

August 3, 2022

วิธีถอด SFP module แบบไม่เกิดความเสียหาย

หลายท่านที่เพิ่งมาใช้ SFP module อาจจะยังไม่ทราบวิธีถอดที่ถูกต้องและอาจจะออกแรงดึงจนเกิดความเสียหาย เลยทำคลิปมาฝากกันครับ ^_^

pjk

June 7, 2022

รู้ลึก PoE (Power Over Ethernet)

มารู้ลึกตั้งแต่เบื้องต้นจน Advance เรื่อง PoE (Power Over Ethernet) กันครับ ไม่ว่าจะ Passive, Active, 802.3af/at/bt, 2/4wires หรือการดูสเปคสายแลนที่ควรใช้ ประเด็นเรื่องความร้อนสะสม ฯลฯ โดย Jug Warat Prapinmongkolkarn แล้วมีผม อ.อู๊ด กับ อ.โก๋ Supadej Suthiphongkanasai ร่วมสนทนาครับ 😊

pjk

April 4, 2022

ดูแล IT จะง่ายขึ้นเยอะ ถ้ารู้จัก WatchGuard EPDR

มารู้จักเครื่องมือที่จะเป็นผู้ช่วยทำงานต่างๆ ตามรายการด้างล่างนี้กันครับ
– ช่วยทำ Inventory ทั้ง Hardware และ Software
– ช่วยดู security patch ต่างๆ โดยเฉพาะ patch ระดับ Critical
– ป้องกันไม่ให้นำอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตเช่น Flash Drive ของตัวเองมาเสียบกับเครื่องบริษัท
– ป้องกันไม่ให้เข้าเว็บไซต์ที่ไม่ควรเข้า
– ระบบ ticket และ monitoring รวมถึง IT support สามารถ remote ให้ความช่วยเหลือได้ทุกที่
– ช่วยทำ report ให้ผู้บริหารดูแบบง่ายๆ
– ป้องกัน Ransomware ด้วย Deep Learning แบบ local ฉลาดได้เอง

pjk

March 21, 2022

Review PoE Splitter ใช้จริงหน้างาน โดย Jack Sirichao

หนึ่งในอุปกรณ์ที่คนวางระบบเน็ตเวิร์กควรทำความรู้จักเพราะวันที่เราต้องการใช้ก็คือวันที่เรากำลังเจอปัญหา อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปได้มาก

PoE Splitter ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ไม่ว่าการเดินสายแลนที่ยาวกว่า 100 เมตร หรือกรณีต้องการต่ออุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่ใช้ไฟฟ้าจาก PoE มากกว่าหนึ่งตัว โดยเดินสายแลนไปเพียงเส้นเดียว ^_^

pjk

February 22, 2022

เจาะ Mikrotik RouterOS เพื่อเอา Config แม้ไม่มีรหัสผ่าน

เมื่อต้องดูแลระบบต่อจากผู้อื่น หรือกรณีใดๆ ก็ตามที่เราได้ Mikrotik RouterOS มาแต่ไม่มีรหัสผ่าน admin มาด้วย เทคนิคนี้จะทำให้เราสามารถเข้าถึงภายในตัวอุปกรณ์ได้โดย config ยังอยู่ครบเหมือนเดิม

pjk

February 17, 2022

กรณีศึกษา ปรับปรุงเน็ตเวิร์ก โรงเรียนชุมชนวัดทำเลทอง

การติดตั้ง/ปรับปรุงระบบเน็ตเวิร์ก แต่ละแห่ง มีรายละเอียดมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไม่นานมานี้ อ.บวบ เพิ่งปรับปรุงระบบเน็ตเวิร์กเสร็จไปอีกหนึ่งแห่ง จึงเอาประสบการณ์มาแบ่งปัน โดยที่น่าสนใจคือในครั้งนี้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของครูที่โรงเรียนชุมชนวัดทำเลทอง สามารถลดงบประมาณจากที่บุคคลภายนอกเสนอมาเกือบสามแสนบาทลงเหลือเพียง 3x,xxx บาทได้ และยังใช้งานได้ตามที่วางแผนเอาไว้ด้วย
มีรายละเอียดดำเนินการอย่างไร จึงปรับระบบจนใช้งานได้ ลดงบประมาณได้ในส่วนใด ที่มาร่วมแรงร่วมใจกันคือส่วนใดบ้าง อุปสรรค์ และข้อจำกัดที่เจอ มาฟัง อ.บวบ เล่าประสบการณ์ครั้งนี้

pjk

February 3, 2022

กรณีศึกษา ระบบเน็ตเวิร์กโรงเรียนพนัสพิทยาคาร

3 ปีที่แล้วอาจารย์ท่านหนึ่งของที่นี่ประกาศในที่ประชุมว่าจะทำให้เน็ตของโรงเรียนแห่งนี้น่าใช้งานไม่แพ้เน็ตที่บ้าน ทั้งๆ ที่อาจารย์เองมีความรู้เน็ตเวิร์กบ้างเล็กน้อย ผ่านไป 3 ปี เน็ตเวิร์กที่นี่รองรับการใช้งานพร้อมกันได้นับพันคน ติตตั้ง Access Point ไปแล้วกว่า 72 ห้องเรียน และแน่นอนครับ ว่าที่นี่ก็เจออุปสรรค ทั้งเรื่อง งบประมาณ เรื่องบุคลากร ฯลฯ เช่นเดียวกับอีกหลายๆ โรงเรียน

pjk

December 8, 2021

เปิดโลกเน็ตเวิร์กความเร็วสูง 25/40/100Gbps SFP28/QSFP+/QSFP28

เน็ตเวิร์กที่มีความเร็วกว่า 10Gbps อย่าง 25/40/50/100Gbps เริ่มมีค่าต่างๆ ที่เราไม่เคยเห็นในเน็ตเวิร์กแบบเดิมที่ใช้กันมา ศึกษารายละเอียดไว้ก่อน เจอของจริงจะได้ “เอาอยู่” ครับ ^_^

pjk

September 20, 2021

Mikrotik cAP XL ac

Mikrotik ออก Access Point รุ่น cAP XL ac มาพร้อมกับสายอากาศออกแบบใหม่ที่ทั้งรับและส่งสัญญาณดีกว่ารุ่น cAP ac ถึง 100% ด้วยเสายอากาศที่ gain สูงกว่าเดิม ในราคาสูงกว่ารุ่นเดิมประมาณ 700 บาท (cAP ac ราคา $US79 ส่วน cAP XL ac ตั้งราคาที่ $US99)

pjk

September 9, 2021

ใช้ CNAM แก้ปัญหาชื่อยาว ของ Mikrotik IP Cloud

เคยรีวิวผู้ให้บริการ Dynamic DNS เอาไว้หลายเจ้า ทั้งฟรี และไม่ฟรี ไว้ในคลิปนี้ครับ เป็นข้อมูลตัดสินใจก่อนเลือกใช้บริการเจ้าใดเจ้าหนึ่ง ถ้าดูถึงตอนท้ายจะมีบอกว่า ทำไมเราถึงไม่ควรฝากชีวิตไว้กับ IP Cloud ด้วยครับ ไม่ใช่เพราะเรื่องความสเถียรอย่างเดียว แต่มีเรื่องของความยืดหยุ่นในการจัดการระบบด้วยครับ ?

Chotima Chuayraksa

September 8, 2021

Mikrotik แก้ปัญหา IP Cloud ให้ใช้งานได้เลยตอนนี้

จากเหตุการ IP Cloud ของ Mikrotik ไม่อัพเดท IP Address เป็นเวลานานเกือบ 24 ชั่วโมง ทำให้วันนี้ฝ่าย IT วุ่นวายกันพอสมควร โดยเฉพาะบริษัทไหนที่ต้องมีการ WFH ทำให้เข้า VPN ไม่ได้เป็นจำนวนมาก

Chotima Chuayraksa

September 7, 2021

รีวิว เจาะลึก Mikrotik CCR2004-16G-2S+

Mikrotik เริ่มเปลี่ยนวิธีออกแบบอุปกรณ์ในตระกูล CCR ใหม่ มาพร้อมทั้งราคาที่ถูกกว่าและประสิทธิภาพที่ดีกว่ากับ Option ต่างๆ มากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนทำให้ CCR รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีราคาถูกที่สุด แต่แรงข้ามรุ่นพี่ไปอย่างน้อยสองรุ่น เนื้อหาเข้มข้นจนต้องขอบอกว่า อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อ Mikrotik ในตระกูล CCR ก่อนได้ดูเนื้อหาในวิดีโอนี้ครับ ?

pjk

September 6, 2021

DYnamic DNS (DDNS) คลิปเดียวรู้เรื่อง

เราเริ่มใช้ประโยชน์จากเน็ตตามบ้านกันมากขึ้น คำว่า Dynamic DNS เลยใกล้ตัวเรามากขึ้น ถ้ามี Dynamic แปลว่ามี Static ด้วย แล้วทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร มีความสามารถอะไรบ้าง คลิปนี้คลิปเดียวสรุปไว้ทั้งสองเรื่องครับ

pjk

September 3, 2021

อย่างน้อย 2 ข้อ ที่ควรรู้หากจะซื้อ Mikrotik CCR2004-16G-2S+ ตอนนี้

มีคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ CCR2004-16G-2S+ หลังไมค์ เหมือนๆ กันอยู่ 2 คำถาม เลยนำมาเล่าสู่กันฟังก่อนครับ โดยเฉพาะคำถามแรก

pjk

August 28, 2021

วิธีติดตั้ง WINBOX บน MacOS อย่างเป็นทางการ

Mikrotik ระบุวิธีการใช้ Winbox บน MacOS ลงในเอกสารบนเว็บไซต์ และทำเป็น Video แสดงการติตดั้งให้ดูอย่างชัดเจน, หมดยุคที่ต้องหาวิธีติดตั้งเองที่มีทั้งแบบเก่าแบบใหม่ต้องลองผิดลองถูกเองแล้ว

pjk

August 27, 2021

เทคนิคการเชื่อม 25Gbps ระหว่าง Mikrotik และ Cisco

จากเดิมที่เราใช้สายระดับความเร็ว 10Gbps หรือน้อยกว่า ถ้าต้องการเชื่อมอุปกรณ์สองตัวข้ามรุ่นหรือยี่ห้อ แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้จะมีค่าที่เราต้องใส่ใจหรืออาจจะต้องเข้าไปช่วยกำหนดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ speed negotiate กับ Duplex mode
แต่กับสายทีความเร็ว 25Gbps หรือเร็วกว่า จะมีโหมดเพิ่มขึ้นมาอีกตัวนั่นก็คือ FEC Mode (Forward Error Correction) ซึ่งหากอุปกรณ์สองตัวตั้งค่าโหมดนี้ไม่ตรงกันก็มีผลทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ อย่างไรก็ดี ต้องบอกตรงนี้ก่อนว่า การเปิดโหมดนี้จะส่งผลต่อ Latency ที่จะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องเปิดแหละ

pjk

August 26, 2021

Mikrotik Winbox 3.29 ออกแล้ว Upgrade ได้ง่ายๆตามภาพ

Mikrotik ออก Winbox 3.29 พร้อม 2 features แก้ปัญหาที่เราเจอกันมานาน
2 features ที่เพิ่มขึ้นคือ
1. เมนู Windows ที่ทำให้เรากระโดดไปยังหน้าต่างที่เราเปิดทิ้งเอาไว้ได้โดยตรง แก้ปัญหาต้องเปิดหน้าต่างใหม่เพราะหาหน้าต่างเดิมไม่เจอ ใช้วิธีเปิดใหม่ง่ายกว่า จนมีสารพัดหน้าต่างล้นจอ
2. แยกเมนูการเลือก column ออกมาเป็นอีก Windows หนึ่งต่างหาก ซึ่งถ้าใครเคยใช้จะรู้ว่าของเดิมเป็นหน้าต่างที่ยาวมากๆๆๆๆ แต่ตอนนี้ถูกแยกออกมาแล้ว และสามารถเลือก column ที่ต้องการได้ทีเดียวหลายคอลัมน์ไม่ต้องเลือกที่ละอัน และเลื่อนหน้าจอเยอะๆ อย่างที่เคยเป็น

pjk

August 25, 2021

จัดการเน็ตเวิร์กโรงเรียนขนาดใหญ่ ด้วยงบประมาณจำกัด

รวบประสบการณ์ 10 ปี ลงใน 3 ชั่วโมง ในการติดตั้งระบบ WIFI ให้กับผู้ใช้จำนวนมากๆ ด้วยงบประมาณที่จำกัด ของ อ.โก้ ที่รวมอะไรที่เจ็บมาก่อน ให้เราไม่ต้องเสียเวลาลองเอง ไม่ต้องเจ็บเอง

pjk

August 18, 2021

แสดงความยินดีด้วยครับ #คอร์สต่ออายุเซอร์ MTCNA ออนไลน์ รุ่นที่ 1

ท่านที่มาอบรมที่ศูนย์อบรม Mikrotik Tutorial เมื่อสอบผ่านจะได้รับใบเซอร์ เชื่อว่าทุกท่านจะสังเกตุได้ว่าใบเซอร์ที่ได้รับ ตัวกระดาษจะเนื้อดีและมีความหนาเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากเราใช้กระดาษที่สั่งเฉพาะมาจากผู้ผลิตโดยตรง ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป มีความคงทนชัดเจนที่ 10-20 ปีขึ้นไป (แม้เซอร์ของ Mikrotik จะต้องต่ออายุทุก 3 ปีก็ตาม) เพื่อเป็นความภูมิใจที่เก็บไว้ดูกันนานๆ ครับ และแม้แต่การเรียนและสอบออนไลน์ ทางเราก็ยินดีส่งเซอร์ตัวเป็นๆ ไปให้เช่นกัน ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ ?

pjk

August 17, 2021

เรื่องข้อกำหนดการเก็บ Log ใหม่ปี 2564

เรื่องข้อกำหนดการเก็บ Log ใหม่ปี 2564 ที่เพิ่งประกาศใช้และมีผลตั้งแต่ 14 สค. ที่ผ่านมา ถ้าใครอ่านฉบับเต็มแล้ว ชวนงง เพราะข้อความยาวมาก ลองดูภาพสรุปจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภาพนี้ดูครับ อาจจะมีข้อความเยอะหน่อย แต่ก็รวมเนื้อหาสำคัญๆ ไว้ในภาพเดียว

pjk

August 16, 2021

คนไทยเป็นอันดับต้นๆที่จะสอบเซอร์ฯ ในระบบออนไลน์ของ Mikrotik

ยินดีกับคนไทยกลุ่มแรกที่จะสอบเซอรฯ Mikrotik ด้วยระบบ Remote Online ของ Mikrotik ในวันเสาร์นี้ ที่นอกจากจะเป็นกลุ่มแรกของไทยแล้ว ยังเป็นกลุ่มแรกๆ ของโลกอีกด้วย ในการสอนออนไลน์ของ Mikrotik นั้น จะต้องสอบด้วย Browser ที่เป็น Chrome Engine เช่น Google Chrome, Microsoft Edge, Brave หรือ Browser อะไรก็ได้ที่ใช้ Chrome Engine โดยจะต้องมีการติดตั้ง Chrome Extension ที่ชื่อว่า “Mikrotik Training”

pjk

August 13, 2021

งบเท่ากัน ได้งานไม่เท่ากัน

Mikrotik แต่ละรุ่น มีสเปคที่แตกต่างกันไป บางรุ่นแพงกว่าแต่ประสิทธิภาพไม่ได้ดีกว่า แต่อาจดีกว่าในแง่การทนอุณหภูมิได้โหดกว่า มี Storage เพื่อเก็บ Log ได้ มากกว่า / อ่านรายละเอียดในภาพประกอบ
CPU ยอดนิยมอย่าง IPQ-4018 ถูกใช้ในอุปกรณ์ตั้งแต่ราคาสองพันไปจนถึงเกือบหกพัน ทั้งหมดประสิทธิภาพเท่ากันเพราะ CPU เดียวกัน ความเร็ว CPU เท่ากัน แต่ราคาที่แตกต่างกันมาจากองค์ประกอบต่างๆ เปรียบได้กับเครื่องคอมพ์ที่ CPU อาจจะเป็น i5 เหมือนกัน แต่องค์ประกอบแตกต่างกัน บางตัวแรมเยอะ บางตัวพื้นที่เก็บข้อมูลเยอะ บางตัวอาจจะมี sound card ชั้นเยี่ยม ซึ่ง Mikrotik เองก็เช่นเดียวกัน

pjk

August 9, 2021

Mikrotik CCR2004-16G-2S+ (Thai Subtitle)

มาแล้วครับคลิปจาก Mikrotik แนะนำ CCR2004-16G-2S+ รุ่นใหม่ที่ราคาถูกกว่า CCR1009 แต่แรงกว่า CCR1009 แถมแรงไปแตะรุ่น CCR1016 กันเลย
เป็นการนำเสนอที่ใช้ภาษาพูดในการแปลยากจริงๆ ใช้เวลาเกือบทั้งวันเลย ถ้าดูแล้วฝากกดไลค์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคร๊าบ.. ?

pjk

July 31, 2021

CCR2004-16G-2S+ แรงกว่า CCR1009 แต่ถูกว่า

มาแล้ว CCR2004 ที่มีพอร์ต 1Gbps ethernet ในตัวถึง 16 port พร้อม SFP+ 10Gbps อีก 2 พอร์ต ยังคงใช้ CPU เดียวกับ CCR2004-1G-12S+2XS ที่เปิดตัวในปีที่แล้ว เป็นอุปกรณ์ Mikrotik ที่มีความเร็วในการทำงานต่อ Core สูงที่สุด และจากการทดสอบที่ทำขึ้นในตอนรีวิวของ Mikrotik Tutorial ปีที่แล้ว พบว่าหลายๆ กรณีทำงานได้แรงกว่า CCR1016 เพียงแต่ที่หลายๆ คนเสียดายกันก็คือ CCR2004 ที่เปิดตัวปีที่แล้ว เป็น sfp+ 10Gbps ถึง 12 ports และมีพอร์ต 1Gbps ethernet เพียงพอร์ตเดียว ทำให้การจัดซื้ออาจจะต้องซื้อ switch ที่มีพอร์ต sfp+ เสริมอีกตัวหนึ่ง

pjk

July 29, 2021

RB5009UG+S+IN พith ไทย Subtitle

วิดีโอแนะนำ Mikrotik RB5009 พร้อม Subtitle ภาษาไทย เอามาฝากคนนอนดึกครับ ?
– 9 พอร์ต (7x1Gbps, 1×2.5Gbps and 1x10Gbps SFP+)
– Full-sized USB 3.0
– ตัวเล็กขนาดใส่ได้ 4 ตัวพร้อมกันใน Rack 1U
– CPU ARM 64 bit 4 cores ARMv8 1.4 GHz CPU
– เร็วกว่า RB4011 เท่าตัว ?

pjk

July 23, 2021

ติดตามการใช้เน็ตของเครื่องในเน็ตเวิร์กด้วย Mikrotik RouterOS

ดูได้แบบละเอียดว่าเครื่องใดใช้ bandwidth เท่าไหร่แบบ real time พร้อมปริมาณข้อมูลที่รับเข้าและส่งออก ของ Mikrotik RouterOS ด้วย Attix5 Traffic monitor

pjk

July 20, 2021

IP ไหน รับ/ส่ง ข้อมูลแค่ไหน รู้หมด

กำลังทำคลิปติดตามการใช้งานอินเตอร์เน็ตของแต่ละ IP เลยเปิดระบบทิ้งเอาไว้ เพิ่งเห็นว่าอยู่ดีๆ iPad ที่เปิดทิ้งไว้เฉยๆ ส่งข้อมูลออกไประดับ 8MB/sec อยู่ช่วงหนึ่ง (กราฟขา Download จะพุ่งขึ้นส่วน Upload จากข้างในออกไปจะพุ่งลง)

pjk

July 19, 2021

ใช้ SwOS กับ Switch รุ่นใหญ่เรื่องนี้ “ต้องรู้”

ที่พูดถึงประเด็นนี้เนื่องจาก Switch ของ Mikrotik หลายรุ่นเราสามารถเลือกได้ว่าระหว่างจะลง OS เป็น RouterOS หรือ SwOS โดย OS แต่จะตัวจะมีจุดเด่นด้อยต่างกันไป ในกรณีของ SwOS มีจุดเด่นที่ แม้ไม่ผ่านการอบรมการใช้งาน แต่ก็สามารถใช้งานได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญคือไม่ต้องห่วงเรื่องประสิทธิภาพ Option ที่เปิดให้ตั้งค่าแต่ละตัว ล้วนเป็นอะไรที่ Hardware รองรับ จึงแน่ใจว่า switch เราจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

pjk

July 12, 2021

Router on a Stick คืออะไร?/ ใช้ดีไหม

Router on a stick หรือบางทีก็เรียกกันอีกชื่อว่า One armed routers เป็นการเชื่อมเน็ตเวิร์กหลายวงเข้ากับ port ของ router เพียงพอร์ตเดียว แต่ข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายเป็นข้อมูลเน็ตเวิร์กหลายวงผ่านการทำ VLAN โดยแต่ละวงจะมี router เป็นตัวกั้น broadcast domain แล้วตัว router จะทำหน้าที่ inter-VLAN ในกรณีต้องมีการติดต่อข้ามวง เป็นวิธียอดนิยม เพราะการเชื่อมต่อ Uplink ของ Switch ก็มักจะทำด้วยการเชื่อมพอร์ตเดียวแล้วส่งข้อมูลจาก VLAN ทั้งหมดด้วยพอร์ตนั้น แล้วเราก็นำพอร์ตนั้นเข้า router ได้เลย

pjk

July 10, 2021

เพิ่มความเร็ว VPN Mikrotik ด้วยการเข้ารหัสที่ Hardware Acceleration รองรับ

การเข้ารหัสเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ใช้ CPU ค่อนข้างมาก อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นของ Mikrotik มาพร้อมความสามารถในการช่วยแบ่งเบาภาระในการประมวลผลของการเข้ารหัสโดยฝังความสามารถที่ชื่อว่า Encryption Hardware Acceleration มาในตัว CPU เพื่อช่วยเข้ารหัสโดยเฉพาะ ซึ่งก็แน่นอนว่า อุปกรณ์แต่ละรุ่นที่มี CPU แตกต่างกันไป จะรองรับ algorithms ในการเข้ารหัสที่แตกต่างกันไปเช่นกัน

pjk

July 9, 2021

ฝึกอ่านโค๊ด Mikrotik ให้ง่ายขึ้นด้วย Syntax Highlighter

ไม่ว่าจะมือใหม่ฝึกอ่าน config ของ Mikrotik RouterOS อาจจะยังไม่คล่องที่จะรู้ว่าคำไหนเป็นคำสั่ง เป็นตัวแปร เป็น comment หรือแม้แต่คนที่เริ่มเขียนโค๊ด RouterOS แนะนำให้ลองใช้ NotePad++ ที่ติดตั้ง Syntax highlighter ของ RouterOS ลงไปครับ

pjk

July 8, 2021

ตารางสูญเสีย Overhead กับการ มี WIFI หลาย SSID

Access Point หนึ่งตัว อาจจะปล่อย SSID ออกมาได้มากกว่า 1 SSID แต่ยิ่งกำหนด SSID มากเท่าไหร่ จำนวน Management Frame ในส่วน Beacon Frame ก็จะถูกยิงออกมามากขึ้น จนทำให้มีพื้นที่สำหรับ Data frame น้อยลงAccess Point ถ้ามีการปล่อย 1 SSID จะเสีย Overhead ไป 0.56% แต่ถ้ากำหนด 10 SSID จะเสียไป 5.62% – แต่เดี๋ยวก่อน เราไม่สามารถดูจาก SSID จาก Access Point ของเราตัวเดียวได้ครับ เพราะถ้าในบริเวณที่ Access Point เราอยู่ มี Access Point ตัวอื่น มีสิ่งที่เรียกว่า Co-channel interference ก็คือ Access point ของเราจุดหยุดฟังเมื่อได้ยิน Access Point ตัวอื่นที่ใช้ความถี่เดียวกันพูด ดังนั้นจึงต้องนับ Airtime ที่เสียไปกับ Access Point ตัวอื่นที่อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย ที่ส่งสัญญาณถึงกันด้วย

pjk

July 7, 2021

จำนวน Wifi SSID กับ Overhead ที่ต้องสูญเสีย

Access Point หนึ่งตัว อาจจะปล่อย SSID ออกมาได้มากกว่า 1 SSID แต่ยิ่งกำหนด SSID มากเท่าไหร่ จำนวน Management Frame ในส่วน Beacon Frame ก็จะถูกยิงออกมามากขึ้น จนทำให้มีพื้นที่สำหรับ Data frame น้อยลง

pjk

July 7, 2021

วิธีย่อ Mikrotik IP Cloud ให้สั้น

Mikrotik มี IP Cloud เป็นฟรี Dynamic DNS แถมมากับอุปกรณ์ทุกตัว แต่เสียดายว่าชื่อที่ให้มาจำยากและไม่สามารถเปลี่ยนได้
วันนี้เราจะมาย่อชื่อให้สั้นและจำได้ง่ายขึ้น โดยสามารถทำได้ทั้งท่านที่มีและยังไม่มี domain name เป็นของตัวเองครับ ?

pjk

July 6, 2021

แก้ปัญหา Mikrotik Unknow Gateway ด้วย Server Binding

คนเริ่มทำ VPN Site to Site มักเจอปัญหา unknow Gateway ในคลิปนี้บอกทั้งที่มาและวิธีจัดการ ว่าปัญหาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและวิธีที่เหมาะกับการจัดการสำหรับทั้งไซต์เล็กที่มีเน็ตเวิร์กวงเดียวด้วยวิธีที่ง่ายกว่า กับไซต์ที่มีความซับซ้อนเช่นมี VLAN ด้วย feature Server Binding ของ Mikrotik นั้นทำอย่างไร

pjk

July 5, 2021

Mikrotik เคลียร์ข้อสงสัยเรื่อง IP Pool กับการทำ DHCP Static Lease

หนึ่งในความสับสนที่ได้รับคำถามเป็นประจำจากคนที่เริ่มทำการ Fix IP โดย DHCP Server ด้วยการทำ Static Lease ก็คือ IP Pool ที่เราจะต้องสร้าง ควรจะครอบคลุม IP Address ที่เราต้องการใช้ในการทำ Fix IP ด้วยหรือไม่

pjk

July 2, 2021

ทำ QOS อัตโนมัติผ่าน DHCP Server ไม่ต้องเขียน Script

ความสามารถอันนึงที่เหมือนถูกซ่อนไว้ (จะซ่อนทำไมน้อ?) คือ DHCP Server สามารถไปสร้าง Simple Queue ให้เองอัตโนมัติ เมื่อมีอุปกรณ์เข้ามาขอ IP Address และทำการถอด Simple Queue ออกไปอัตโนมัติเมื่อเลิกใช้แล้วเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องเขียนสคริปต์แม้แต่บรรทัดเดียว

pjk

July 1, 2021

พอร์ต USB ของ Miktotik สามารถต่อเชื่อม เพื่อออกเน็ตได้ไหม?

คำตอบคือทั้ง ได้ และ ไม่ได้ ครับ
ได้ ในกรณีที่ใช้ตัวพอร์ต USB ของ Mikrotik เป็น USB Host เชื่อมกับอุปกรณ์อย่าง AirCard 4G USB เพื่อให้ตัว Mikrotik เองออกเน็ตทาง AirCard ได้ และเมื่อ Mikrotik มีเน็ตแล้วก็สามารถนำเน็ตดังกล่าวมาแชร์ให้เครื่องอื่นๆ ผ่านพอร์ต LAN หรือ Wifi ของตัวเองได้ แต่ถ้านำ Mikrotik ไปเป็น USB Device เช่นนำไปต่อกับเครื่องคอมพ์ เพื่อให้แชร์เน็ตผ่านทางพอร์ต USB ไปยังเครื่องคอมพ์ อันนี้ไม่สามารถทำได้ (กรณีนี้เครื่องคอมพ์จะเป็น USB Host และ Mikrotik จะเป็น USB Device)

pjk

June 29, 2021

ลด Error การตั้งค่าถ้ารู้จัก Slave Interface ใน Mikrotik

อีกหนึ่งในสาเหตุการทำงานผิดปกติของ RouterOS ที่พบได้บ่อยๆ คือเข้าไปตั้งค่าที่ Slave Interface โดยตรง หรือตั้งค่าไปเรียบร้อยแล้ว และเผลอไปทำให้ Interface ที่ตั้งค่าแล้วเปลี่ยนสถานะเป็น Slave Interface บางท่านที่ใช้ Mikrotik มานานพอ อาจสับสบว่า Slave Port กับ Slave interface เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งสองคำนี้เป็นคนละเรื่องกันเพียงแค่มีชื่อคล้ายกันเท่านั้นเอง และปัจจุบันตัว Master/Slave Port ได้ถูกยกเลิกการใช้งานเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของ Hardware Offload แทนแล้วตั้งแต่ Mikrotik 6.41 เป็นต้นมา

pjk

June 28, 2021

ARP Ping การ ping ที่ Firewall ปิดไม่ได้

เวลาเน็ตเวิร์กแอดมินต้องไปทำงานในพื้นที่ ที่เราไม่รู้ว่ามี IP อะไรว่างให้เหลือใช้งานอยู่บ้าง ด้วย default ของ Firewall ของ Operating system หลายตัวที่เลือกจะ “ปิด” “ไม่ตอบ” คำสั่ง Ping ทำให้การใช้คำสั่ง Ping เพื่อตรวจสอบว่ามี IP Address อะไรว่างอยู่หรือไม่ แม้จะทำในช่วงที่ลูกค้าเปิดทำการ ที่มีการเปิดอุปกรณ์ครบๆ บางทีก็ยังบอกไม่ได้ว่า IP Address นั้นว่างอยู่จริง

pjk

June 28, 2021

ทำ Load Balance เน็ต 2 เส้นที่เร็วไม่เท่ากันต้องกำหนดน้ำหนักของ Classifier อย่างไร

ค่า Classifier ใน LoadBalance แบบ PCC ของ Mikrotik ไม่มีตัวเลขตายตัว เนื่องจากขึ้นอยู่กับความเร็วและจำนวนของสายอินเตอร์เน็ตที่มี ยิ่งความเร็วของสายอินเตอร์เน็ตทั้งสองเส้นไม่เท่ากัน ก็ยิ่งเพิ่มความสับสนในการกำหนดน้ำหนักของตัวเลข Classifier ให้กระจายน้ำหนักการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

pjk

June 25, 2021

ไม่ได้ไปต่อ Windows 11 อาจจะเพราะยังไม่ได้เปิดฟังค์ชั่นนี้บน Mainboard

เช็คว่าเครื่องคอมพ์เราได้ไปต่อ Windows 11 หรือเปล่าได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมจาก Microsoft (ลิงค์เพื่อดาวน์โหลดอยู่ข้างใต้) – แต่ถ้าใครใช้โปรแกรมทดสอบแล้วได้ผลว่าเครื่องเราไม่ได้ไปต่อ ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะเมนบอร์ดจำนวนมากไม่ได้เปิดบางฟังค์ชั่นมา หรือบางทีเปิดมาก็โดนคนลงโปรแกรมปิดไป เช่น UEFI / Secure Boot และ TPM (Trusted Platform Module)

pjk

June 25, 2021

Mikrotik DHCP Offering Lease xx.xx.xx.xx for zz:zz:zz:zz:zz:zz without success

หนึ่งใน Error ยอดนิยมที่เจอกันใน Log เลย กับ DHCP Offering Lease xx.xx.xx.xx for zz:zz:zz:zz:zz:zz without success เป็น Error ที่บอกเราว่า เครื่องลูก (DHCP Client) ส่งคำขอ IP มายัง DHCP Server แต่เมื่อ Server ให้ไปแล้วตัวลูกไม่รับ

pjk

June 24, 2021

เก็บ Log ได้ตาม “มาตรฐาน” พรบ. หรือเปล่า?

อีกคำถามที่เจอประจำก็คือ “Log ของ Mikrotik ได้มาตรฐาน พรบ ไหม” – แล้วก็มีกลุ่มคนที่รู้ว่าถ้าตอบว่า “ไม่” ลูกค้าก็พร้อมจะทิ้งไปหาทางเลือกอื่นทันที โดยไม่มีอะไรต้องคุยต่อ และถ้าตอบว่า “ใช่” แถมราคาย่อมเยาไม่กี่พันบาท ตัวเองก็ได้งาน ลูกค้าก็สบายใจ “คิดว่า” ได้ Log ที่ได้ มาตรฐาน พรบ เอาไว้ใช้งาน

pjk

June 23, 2021

เรียกคืนพื้นที่ถอด Package ที่ไม่ได้ใช้งาน

ตัดปัญหา อัพเกรด RouterOS ไม่ได้, อุปกรณ์ Hang, Log เต็ม ฯลฯ เนื่องจากพื้นที่ไม่พอ
RouterOS แบ่งฟังค์ชั่นการทำงานของแต่ละส่วนเป็น packages ย่อยๆ มีความยืดหยุ่น อันไหนไม่ต้องใช้ก็ไม่ต้องติดตั้งให้เสียทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ยิ่งในอุปกรณ์รุ่นเล็ก Mikrotik จะให้ Storage มา 16 MB ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จริงๆ แล้วบางทีใช้งานจริง ไม่เกิน 5 packages แต่ด้วยที่หลายท่านความไม่รู้ว่า package ไหนทำหน้าที่อะไร เลยเลือกที่จะใส่ลงไปทั้งหมด ทำให้เหลือเนื้อที่เผื่อใช้งานอีกนิดเดียว เทียบกับ Windows ก็คืออาการเดียวกับไดร์ฟ c: เต็ม

pjk

June 22, 2021

แสดง Brand เราเมื่อ Login เข้า terminal

เทคนิคสนุกๆ ที่จะทำให้ Mikrotik แสดงข้อความเมื่อ login เข้า terminal ของระบบ ซึ่งเรามักจะนำไปใช้ในการใส่ชื่อบริษัท และรายละเอียดการติดต่อ เช่น Line, เบอร์โทร หรือทำให้เด่นเตะตาด้วยการทำ ASCII Art อย่างที่เห็นในภาพประกอบ

pjk

June 21, 2021

เสียบ RJ-45 SFP+ แบบนี้ทำอุปกรณ์ เสียหายได้นะ

เนื่องจาก RJ45 SFP+ หรือ Port RJ45 ที่มีความเร็ว 10Gbps เป็น Module ที่มีความร้อนสูงมากในเวลาทำงาน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัว Switch และตัว SFP+ Module เอง จึงมีข้อควรระวังในการติดตั้งว่าไม่ควรติดตั้งในช่องที่ติดกัน ไม่ว่าด้านข้าง ด้านบนล่าง หรือแม้แต่ด้านเฉียง ควรจะมีการเว้นระยะอย่างน้อย 1 ช่องเสมอ และในกรณีที่นำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีการระบายความร้อนแบบ Passive Cooling (ใช้ครีบระบายความร้อน ไม่ได้ใช้พัดลม) เช่น CCR1009-7G-1C-PC ก็ไม่ควรจะติด RJ45 SFP+ module มากกว่า 2 ตัว หรือถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ 3 ตัวเท่านั้น

pjk

June 20, 2021

ทำ VPN ผ่าน IP Cloud ของ Mikrotik ด้วย SIM โทรศัพท์มือถือได้ไหม

ช่วงนี้มีคนถามคำถามว่าสามารถใช้ sim โทรศัพท์ทำ VPN Server รวมถึงปัญหาการทำ VPN Server ด้วย Mikrotik จากเน็ตบ้านผ่าน IP Cloud เข้ามาบ่อย เลยทำคลิป Video ที่อธิบายว่าถ้าจะให้ใช้ได้ต้องทำอย่างไร แล้วมีต่อยอดความรู้ในในช่วงท้ายคลิปไปพร้อมๆ กันเพื่อความชัดเจนไปพร้อมกันเลย ??

pjk

June 19, 2021

ถอด Key Microsoft Office ปลอมเพื่อติดตั้ง Office 356 ถูกลิขสิทธิ์

เดี๋ยวนี้ลิขสิทธิ์ Microsoft Office 365 ตกปีนึงเหลือไม่กี่ร้อยบาท วันก่อนคนรู้จักก็เพิ่งไปซื้อของถูกลิขสิทธิ์มาใช้งาน แต่เจ้ากรรมลิขสิทธิ์ Office 2019 ปลอมในเครื่อง ถึงถอดโปรแกรมไปแล้ว แต่ตัวสิทธิ์ปลอมก็ยังอยู่ ทำให้ติดตั้ง Office 365 ลงไปกี่ครั้งก็ยังเป็นของปลอมซะงั้น ไปช่วยเค้าถอดสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องออก เลยนำมาทำเป็นคลิปเพราะน่าจะมีหลายท่านเจอปัญหาแบบเดียวกัน ?

pjk

June 19, 2021

Mikrotik CRS354-48G-4S+2Q+RM รองรับ DualBoot ใช้ SWOS ได้แล้ว

ก่อนหน้านี้ CRS354-48G-4S+2Q+ Switch 48 ports ที่หลายคนสั่งมาใช้เพราะมีราคาต่อประสิทธิภาพที่คุ้มค่า และมีหลายท่านที่ไม่ได้ดูสเปคหน้าเว็บก่อนว่า Switch รุ่นนี้ ไม่สามารถทำ Dual Boot หรือรองรับ 2 ระบปฏิบัติการทั้ง RouterOS และ SwOS ได้เหมือน Switch หลายรุ่นที่ดูจะเป็น Switch รุ่นเล็กกว่าด้วยซ้ำ แถมเมื่อเข้าไปในเมนู System>ReouterBoard ก็ยังมีเมนูให้บูทเข้า SwOS อีกต่างหาก แต่เมื่อเลือกไปตัว Switch ก็จะเงียบไม่ตอบสนอง ต้องแก้ไขให้กลับมาทำงานด้วย RouterOS เช่นเดิม

pjk

June 18, 2021

Mikrotik Wifi Wave2 (MU-MIMO) มาซักทีแต่?

ในขณะที่ทุกคนกำลังรอคอยอุปกรณ์ WIFI 6 จาก Mikrotik เมื่อวานทาง Mikrotik ก็ทำ Surprise หลายดอก โดยการเปิดตัว Wifi5 Wave2 ที่หลายคน(เคย)รอ ออกมาซักที โดยเปิดตัวเป็น Extra Package ชื่อ wifiwave2-7.1beta4-arm ให้ดาวน์โหลดกัน

pjk

June 17, 2021

ค่า Firewall ตั้ง Zoom Meeting ได้ลื่นๆ

ท่านที่ภายในบริษัทมีการใช้โปรแกรม Zoom แล้วต้องการค่าเพื่อไปกำหนด Router/Firewall เพื่อให้ใช้งาน Zoom ได้อย่างราบรื่น หรือทำ Priority ให้ Traffic ของ Zoom มีความสำคัญเหนือกว่า Traffic ของการใช้งานอื่นๆ

pjk

June 16, 2021

Mikrotik จุดโหว่เยอะ? แฮงค์บ่อย,ซื้อทีเดียวแต่ไม่จบ? ฯลฯ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ขอบคุณหลายท่านที่แชร์โพสต์จากเพจ Mikrotik Tutorial ไป บางท่านก็แชร์ไปเพื่อแบ่งปันความรู้ บางท่านก็แชร์ไปเพื่อยืนยันคำพูดของตนเองที่เคยพูดไว้ว่า Mikrotik เป็นอุปกรณ์ที่แค่ราคาถูก ซื้อไปถึงไม่มี MA แต่งานไม่จบ ใช้งานไม่ได้จริง ลองใช้แล้วแฮงค์บ่อย แถมมีจุดโหว่เยอะ

pjk

June 15, 2021

ทำไมการ Block YouTube ด้วยเทคนิค TLS HOST เริ่มไม่ได้ผลแล้ว?

ตั้งแต่ RouterOS 6.41 เป็นต้นมา Mikrotik ได้ใส่ความสามารถในการตรวจสอบและเปลี่ยนเทียบชื่อ TLS SNI hostname ใน Firewall filter ดังนั้นแม้จะติดต่อด้วย https ที่มีการเข้ารหัส เราก็ยังสามารถระบุที่จะดำเนินการ เช่น Drop, Reject โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นชื่อ host

pjk

June 14, 2021

Mikrotik Free Dynamic DNS

เผลอแป๊บเดียว Mikrotik มี IP Cloud ที่เป็น Dynamic DNS ให้ใช้ฟรี มา 7 ปีแล้ว
เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เพิ่งจด mikrotiktutorial.com ใหม่ๆ เพียงแค่ตั้งใจว่าเนื้อหาที่จะเขียนจะทำ จะไม่กระจัดกระจาย รวมถึงมีที่วางไฟล์ปรกระกอบให้โหลดกัน ยังไม่ได้รู้เลยว่าอีกหน่อยเราจะมี เพจ มีกรุ๊ป มี LineOpenCHAT หรือช่อง YouTube ที่ชัดเจนเหมือนทุกวันนี้ ตอนจะบอกทุกคนว่ามีคลิปใหม่ยังทำบน Facebook ส่วนตัวอยู่เลย ?

Chotima Chuayraksa

June 10, 2021

สร้าง Lab Mikrotik ด้วย VMWARE Workstation

ถ้าใครเจอปัญหาเหมือนกันครับ ว่าใช้ GNS3 ทำ Lab แล้วหลายครั้งต้องมานั่งแก้ไขปัญหาตัว GNS3 เอง แทนที่จะเอาเวลาไปใช้ทำ Lab ลองดูวิธีในคลิปนี้ทึ่จะทำไม่ต้องเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาตัว GNS3 กับ Video วิธีติดตั้ง Mikrotik CHR เพื่อใช้งานจริง หรือเพื่อทำ Lab บน VMWare เป็นอีกทางเลือก ?

pjk

June 10, 2021

NANA Memory ของ MikroTik ฟังเร็วแค่ไหน

อุปกรณ์ Mikrotik ทุกตัวจะมีการใช้หน่วยความจำประเภท NAND Memory หน่วยความจำประเภทนี้ มีข้อดีคือข้อมูลจะยังคงอยู่แม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง แต่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูล แล้วถ้าเราเอามาใช้เก็บ Log หรือเก็บฐานข้อมูล Hotspot, The DUDE ก็จะทำให้มีการเขียนบ่อยขึ้น อายุของ NAND Memory ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ตามปริมาณการเขียน แต่อายุที่ว่า ยาวแค่ไหน? คำนวณอายุอย่างไร? เราใช้ไปแล้วเท่าไหร่ดูยังไง? ต้องเป็นห่วงไหม?

pjk

June 9, 2021

ทำไม Bandwidth Test บนตัว Mikrotik ไม่น่าเชื่อถือ?

สาเหตุที่เราไม่สามารถเชื่อถือตัวเลข โปรแกรม Bandwidth Test ที่อยู่ในเมนู Tools ของ RotuerOS ได้ ยิ่งเป็นการทดสอบเฉพาะทดสอบบนอุปกรณ์รุ่นกลางหรือเล็กที่นิยมใช้กันจำนวนมาก ผลที่ได้ก็ยิ่งคลาดเคลื่อนไปมาก เพราะหลายครั้งเราจะสังเกตุเห็นว่า

pjk

June 8, 2021

รู้หมือไร่? Mikrotik มี SWOS Lite เป็น OS ตัวที่ 3 เพิ่มจาก RouterOS และ SWOS

พร้อมกับการเปิดตัว Switch 10Gbps ราคาย่อมเยาว์ ตระกูล CSS610-xx-xxx ที่มีพอร์ต 10Gbps ในราคาเพียง US$99 ทาง Mikrotik เองก็ได้เปิด SWOS รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า SWOS Lite มาเพื่อใช้กับ Switch ตระกูล CSS610 โดยเฉพาะ

pjk

June 7, 2021

WINBOX 3.28

Winbox 3.28 เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว มีฟังค์ชั่นใหม่มา 1 อย่าง แต่ที่ได้รับการแก้ไขแล้วหลายคนอาจจะหงุดหงิดเวลาใช้งานมาก่อน คือ “ตัวแดง” ที่บางครั้งเราตั้งค่าถูกแต่ Winbox แสดงเป็นตัวแดงให้ตกใจเหมือนเราตั้งค่าอะไรผิด แล้วต้องปิดเปิดใหม่ หรือว่าเปลี่ยน tab เพื่อให้ตัวหนังสือกลับมาเป็นสีปกติ ซึ่งได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วในรุ่นใหม่นี้

pjk

June 6, 2021

Ubiquiti, Cambium และ Mikrotik

Global Wireless Broadband Internet Market ได้ทำบทวิเคราะห์อุปกรณ์ WIFI ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2019 ที่จะได้รับความนิยมในการนำไปติดตั้งเพื่อให้บริการมากที่สุด 2 ใน 3 ของ Top Three ก็มีแบรนด์ที่อยู่ในระดับราคาคุ้มค่าไม่แรงเกินซื้อหาอย่าง Ubiquiti และ Mikrotik ด้วย

pjk

June 5, 2021

IP CLOUD Mikrotik ล่มอีกแล้วห่างจากครั้งล่าสุดไม่ถึงเดือน

เอามาบอกกัน เผื่อตอนนี้ใครใช้ไม่ได้ จะได้ไม่ต้องแปลกใจครับ ?
IP Cloud บริการ DDNS ที่แถมมาให้กับ Mikrotik ทุกตัว ถึงจะมีข้อดีที่ใช้ง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในปีนึงเราจะเห็นอาการผิดปกติได้หลายครั้ง และวันนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ล่มในวงกว้าง ห่างจากครั้งล่าสุดไม่ถึงเดือน

pjk

June 4, 2021

สาย Link รุ่น US-9106 แตกต่างกับ รุ่น US-9116 อย่างไร

สาย Link รุ่น US-9106 แตกต่างกับ รุ่น US-9116| ทั้งสองรุ่น ราคาต่อกล่อง (305m/box) ทั้งสองรุ่นแตกต่างกันเพียง 200 บาท ไม่ลำบากใจที่จะจ่ายอีก 200 บาท ว่าแต่มันมีอะไรแตกต่างกันบ้างนะ มาดูกันครับ ?

pjk

June 2, 2021

BONUS ที่ 3 ในคอร์สออนไลน์ Mikrotik เพื่อใช้งานจริง Level1

เพิ่งเพิ่มเนื้อหา BONUS ที่ 3 ในคอร์สออนไลน์ Mikrotik เพื่อใช้งานจริง Level1 ซึ่งเป็นเนื้อหา
– การกำหนดค่า WISP Mode
– การป้องกันคนอื่นแชร์เน็ต หรือวิธีแก้การป้องกันกรณีโดนคนอื่นห้ามแชร์เน็ต
– การใช้เน็ตจากมือถือแบบ USB Tethering / AirCard ที่ให้ความสเถียรกว่าแชร์จาก WIFI

pjk

June 1, 2021

เบาแรงด้วยการสั่งงานทีเดียว Upgrade / Downgrade Firmware พร้อมกันหลายๆตัว

ช่วงนี้ถ้าท่านใดใช้ Access Point Ubiquiti แล้วเจออาการแปลกๆ เช่นเชื่อมต่อแล้วหลุดบ่อย การจัดการช่องสัญญาณไม่ดี ใช้ช่องความถี่ซ้ำๆ กันหลายตัว แปลว่าท่านกำลังพบกับ Bug ใน Firmware ตัวล่าสุด แนะนำให้ถอยไป Firmware ก่อนหน้านี้จนกว่าทาง Ubiquiti จะออกเฟิร์มแวร์ใหม่ครับ

pjk

June 1, 2021

ดู Block Diagram ของ Mikrotik เป็น ได้เปรียบกว่า

เนื้อหาดีๆ เชิงลึกหน่อย แต่ถ้าได้รู้แล้วจะยกระดับการเลือกใช้อุปกรณ์ Mikrotik ได้ตรงกับงานมากขึ้นมาฝากกันอีกแล้ว
กับคลิปพาไปดู Block Diagram ของ Mikrotik ซึ่งถ้าเราอ่านเป็น

pjk

May 31, 2021

สอบ ONLINE กับ Mikrotik

เป็น Certified Trainer เวลาคุมสอบก็อารมณ์หนึ่ง เวลาสอบเองมีเสียวๆ ไม่แพ้ผู้เข้าอบรมครับ ตัว Trainer เองก็ไม่ใช่ทุกครัั้งที่จะได้ 100% ได้มาก็ดีใจครับ 555 ?

pjk

May 29, 2021

วิธีไหนบ้างที่จะบล็อกหรือดูการใช้เน็ตของยูสเซอร์

ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์ก ที่ได้รับโจทย์ให้ หาวิธีบล็อกการเข้าเว็บ หรือติดตามดูการการใช้งานเน็ตของยูสเซอร์อยู่ ในยุคที่อะไรก็เข้ารหัสซะเกือบทุกอย่าง รวมถึงอุปกรณ์ก็เริ่มมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่จะทำให้ระบบไม่สามารถติดตามการใช้งานแล้ว แล้วผู้ดูแลระบบยังเหลือพื้นที่ตรงไหนพอจะติดตามได้บ้าง?

pjk

May 27, 2021

ทำลายรหัสผ่าน เพื่อเอา Config จาก Backup File ของ Mikrotik

ถ้าเรารับงาน Mikrotik มา แต่ไม่มีรหัสผ่าน ไม่ต้อง reset อุปกรณ์เพื่อตั้งค่าใหม่เพียงถ้าพอมี Backup File ของอุปกรณ์ตัวนั้น ถ้าเวอร์ชั่นเใหม่หน่อย เราใช้วิธีทำลายรหัสผ่านให้กลายเป็นไม่มีรหัสผ่าน หรือถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่าหน่อย เราสามารถแกะเอารหัสผ่านออกมาได้เลยครับ

pjk

May 27, 2021

ควรทราบก่อนเปิดใช้ hAP ac3 ไม่งั้นอุปกรณ์อาจเสียหาย

hAP ac3 เป็นอุปกรณ์ตระกูล hAP (Home Access Point) ตัวแรกที่สามารถถอดเปลี่ยนเสาอากาศ(ที่ถูกต้องเรียก สายอากาศ) ทำให้ผู้ใช้ตามบ้านซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของอุปกรณ์นี้อาจจะยังไม่ทราบมาก่อนว่า การที่ไม่เสียบเสาอากาศให้เรียบร้อยก่อนเปิดอุปกรณ์ อาจนำมาซึ่งความเสียหายถึงกับทำให้ภาคจ่ายสัญญาณเสียหายได้ โดยตัวอุปกรณ์เองก็มีป้ายเตือนปิดไว้ไม่ให้เราเสียบปลั๊ก แต่ก็พบบ่อยๆ ที่คนไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้

pjk

May 26, 2021

กำหนดค่า Bridge และ VLAN PVID ของ Mikrotik Switch เสร็จด้วยคำสั่งเพียง 2 บรรทัด

ตัวอย่างจากการนำวิธีเขียน Script ของ Mikrotik มาประยุกต์ใช้ให้เราสามารถทำงานได้ทั้งลดโอกาสผิดพลาด แม่นยำ รวดเร็ว ประหยัดเวลาลงมากกว่าวิธีปกติเป็น 10 เท่าตัว สนใจคอร์สออนไลน์ เรียนเขียน Mikrotik Script โดยคุณต้น @{tondev} พ่อมดไอที จากกลุ่ม Mikrotik LineOpenCHAT สามารถลงทะเบียนอบรมได้ที่ LineID: @mikrotik (https://lin.ee/jdrgOG8) ครับ ^_^

pjk

May 26, 2021

1 x QSFP 40Gbps เชื่อมไปยัง 4 x SFP+ 10Gbps

ความพิเศษอย่างหนึ่งของ QSFP 40Gbps คือเราไม่จำเป็นจะต้องเชื่อมกับ QSFP 40Gbps ด้วยกันเท่านั้น แต่เราสามารถเชื่อม 1 QSFP 40Gbps ไปยัง 4 SFP+ 10Gbps ได้ด้วย และถ้าต้องการเชื่อมแบบนี้ก็สามารถทำได้ง่ายมากเพราะ Mikrotik เองก็ผลิตสายเชื่อมในลักษณะนี้ออกมาในชื่อรุ่นว่า Q+BC0003-S+ ที่มีราคาเพียง 2,xxx บาท

pjk

May 15, 2021

ใช้ Google Drive อย่างเทพด้วย rClone ภาค เจาะลึก

แต่งซิ่งการใช้ rClone กับการลงลึกปรับแต่งให้ ตอบสนองเร็วขึ้น, ปรับ Cache และ Chunk Size ได้ผลลัพธ์ทั้งการใช้งานได้หนักขึ้น มากขึ้น เร็วขึ้น

pjk

April 27, 2021

ใช้ Google Drive อย่างเทพ ด้วย rClone

เพิ่มศักยภาพการใช้ Google Drive ด้วย rClone ทำให้เรา เข้าถึงข้อมูลใน Google Drive ได้ไม่ว่าจะใส่ไฟล์หรือดึงไฟล์ จนกระทั่งเอา Google Drive มาแชร์เหมือน NAS ตัวนึงในระบบ LAN เมื่อรวมกับ Gsuite ที่เก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด เท่ากับเราได้ NAS พื้นที่ไม่จำกัด และแชร์หากันได้จากหลายๆ ที่บนโลกอินเตอร์เน็ตเลย

pjk

April 20, 2021

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสายแลน หงิก งอ หรือเมื่อใช้อุปกรณ์คนละมาตรฐานผสมกัน

เมื่อเรา งอ สายแลนมากๆ จนเรียกว่าหงิก หรือใช้อุปกรณ์คนละมาตรฐานผสมกัน มีผลกระทบถึงเรื่องการส่งสัญญาณในสายแน่นอน ลองมาดูผลจากเครื่องวัดกันครับว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

pjk

March 10, 2021

เรียน Network ด้วยภาพ กับคอร์ส Mikrotik และ Ubiquiti กับศูนย์อบรม Mikrotik Tutorial

เรียน Network ด้วยภาพ กับ คอร์ส Mikrotik เพื่อใช้งานจริง ระดับ 1
วันนี้ Mikrotik Tutorial ยกระดับความง่าย ในการเรียนรู้เรื่องเน็ตเวิร์ก ผ่านคอร์สออนไลน์ ด้วยการนำภาพเชิง Infographic เข้ามาประกอบการยกตัวอย่าง

pjk

February 11, 2021

ดึง Video จากแผ่น DVD มาเป็นไฟล์ คุณภาพเดิม 100%

วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก โดยโหลดและติดตั้งโปรแกรมที่ชื่อว่า MakeMKV โดยคลิ๊กที่ลิงค์นี้ แล้วเลือกดาวน์โหลดโปรแกรมที่ตรงกับระบบคอมพิวเตอร์ของเราว่าเป็น Windows / Mac หรือ Linux แล้วก็กด Next ไปเรื่อยๆ เพื่อติดตั้งโปรแกรม

pjk

February 11, 2021

ทำไม เราไม่ควรใช้ Private IP ผิดช่วงจากมาตรฐาน

หนึ่งในความรู้ Network พื้นฐานง่ายๆ แต่สำคัญ เปรียบได้เหมือนกับการวางกับดักให้กับตัวเองเดินสะดุดสักวันหนึ่ง ไม่เร็วก็ช้า ดูรายละเอียดได้ในคลิปครับ ^_^

pjk

February 9, 2021

เพิ่มเครื่องพิมพ์ผ่าน VPN บน Windos 10 สำหรับคนที่ Work From Home

กรณีที่เราต้องการพิมพ์เครื่องพิมพ์ที่อยู่คนละ Network หรือข้าม VPN เราจะไม่สามารถใช้การสแกนหาเครื่องพิมพ์ได้ตามปกติ ในคลิปนี้จะบอกวิธีที่จะเพิ่มเครื่องพิมพ์ด้วยการระบุรายละเอียดลงไปเอง ซึ่งดูวิธีได้ในคลิปครับ

pjk

February 9, 2021

เครื่องมือต่อสู้ความช้าของ Google Chrome #ตัวที่1

หลังจากมีปัญหาเรื่อง Google Chrome ทำงานช้ามาก เพราะมีนิสัยชอบเปิด Tab ใหม่ๆ ทิ้งไว้ เพื่อความสะดวกในการสลับการทำงานไปมา ก็เริ่มมองหาเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหา และนี่ คือ 1 ใน 3 ตัวที่ช่วยลดปัญหาลงได้มาก

pjk

February 9, 2021

ลดการใช้พื้นที่ Gmail ด้วย Image Compressor

ถ้าเราลดการใช้พื้นที่ attached file ของ Gmail ลงได้ ก็จะช่วยลดอัตราเร่งของการใช้พื้นที่ลง ขยายเวลาการใช้งานฟรี หรือยืดเวลาที่จะต้องซื้อพื้นที่เพิ่มออกไปได้ วันนี้เลยนำเครื่องมือที่ชื่อว่า Image Compressor มาแนะนำกัน เป็นเครื่องมือที่จะลดขนาดของไฟล์ภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น JPG, PNG ที่ดูเหมือนจะลดลงไม่ได้แล้วให้เล็กลงไปอีก รวมถึงเอกสาร PDF ทั้งแบบที่มีและไม่มีรูปภาพอยู่ในเอกสาร

pjk

February 9, 2021

ผลข้างเคียงจากการใช้ Load Balance และวิธีแก้ไข ของ Mikrotik

หลายคนยังไม่รู้ว่า Script Load Balance ที่หาได้ตามเน็ตมากมายนั้นเมื่อใช้แล้วมีผลข้างเคียงติดมาด้วย ซึ่งอาการมักจะมาออกเมื่อมีการ forward port หรือเริ่มมีการใช้ VLAN ในคลิปนี้จะมาพูดถึงที่มาของผลข้างเคียง และวิธีการแก้ไขครับ

pjk

February 5, 2021

เนื้อๆ : รู้จัก Cable Comb อุปกรณ์ช่วยจัดสาย LAN ให้เป็นระบบ

เราอาจจะเคยเห็นการจัดสายแลนสวยๆ ที่มัดสายเป็นกำ เป็นระเบียบเรียบร้อย เพียงแต่ใช้อุปกรณ์ตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า Cable Comb เข้าช่วย

pjk

February 3, 2021

อุปกรณ์ทดสอบสายแลน AEM รุ่น NSA Network Service Assistant

อุปกรณ์ทดสอบระดับ Cert-Lite สำหรับทดสอบคุณภาพสายแลน พร้อม Report ผลการทดสอบ รองรับการตรวจสอบ Multi-Gig 2.5/5/10Gbps, สาย CAT5/5e/6/6a/7/7A/8.2, PoE ทั้งแบบ Passive/Active 802.3af/at/bt ฯลฯ

pjk

February 3, 2021

เดิน LAN ให้ได้มาตรฐาน

ข้อมูลวิ่งบนสายแลนเร็วขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อก่อนเดินสายแลนยังไงก็ส่งข้อมูลได้ แต่ปัจจุบันเริ่มไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว การเดินสายแลนให้ได้มาตรฐานเพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถรองรับความเร็วการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นตามมาตรฐานใหม่ๆ ต้องรู้อะไรบ้าง เรามาชมกันครับ

pjk

January 25, 2021

สาเหตุที่เราไม่เคยใช้ WIFI ได้เร็ว 100% ตามสเปค

ถ้าซื้อ Access Point ตัวเร็ว กับเร็วกว่า แต่ใช้งานจริงได้เร็วเท่ากันเสียดายตังค์แย่ มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราใช้ WIFI ได้ไม่เร็ว 100% ตามสเปค

pjk

January 22, 2021

การเชื่อมสาย Fiber Optic ให้สูญเสียแสงน้อย ควรรู้จักสเปคตัวนี้ของเครื่องเชื่อม

เทคโนโลยีการตั้งสายให้ตรง มี 3 แบบ และให้ประสิทธิภาพความแม่นยำแตกต่างกัน ให้คุณภาพการเชื่อมที่มีค่าสูญเสียแสงแค่ไหน เมื่อเรารู้จักแล้วจะได้รู้ว่า Fiber Optic Splicer ที่ใช้นั้นเหมาะกับงานเราหรือไม่

pjk

January 15, 2021

เรียน Script Mikrotik ตอนที่ 2

เพิ่มศักยภาพการใช้ Mikrotik ด้วยการใช้ Mikrotik Script ลดเวลาการตั้งค่า และเพิ่มความเป็น Dynamic ให้ Mikrotik ปรับการทำงานเองเมื่อสภาพแวดล้อมในการทำงานเปลี่ยนไป และให้ Mikrotik เป็นฝ่ายติดต่อเราเมื่อมีบางอย่างที่เราควรทราบเกิดขึ้น

pjk

January 15, 2021

ทำ Windows 10 ให้ตัวเบา ด้วยการถอดโปรแกรมสารพัดแถม ที่เราไม่ได้ใช้ออกกันเถอะ (Bloatware Removal)

ถอดโปรแกรมแถมที่เราไม่ค่อยได้ใช้ หรือเรียกว่า Bloatware ออกเพื่อไม่ต้องเสียทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เรากับโปรแกรมเหล่านี้

pjk

January 12, 2021

เรื่อง WIFI ที่ควรรู้ สำหรับปี 2021

การใช้ WiFi มีการเปลี่ยนไปทุกปีเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ มาอัพเดทกันครับ ว่าอะไรที่เราเคยรู้ แต่ปีนี้มันเปลี่ยนไป รวมถึงอะไรใหม่ๆ ที่เราถึงเวลาที่เราควรรู้ได้แล้วในปีนี้ โดยวิทยากร คุณ @Pooh Phukao Pongsuwan จากห้อง Line OpenCHAT “Mikrotik” กับ อ.โก๋ Supadej Sutthiphongkanasai

pjk

January 11, 2021

วิธี Downgrade Mikrotik RouterOS และเรื่องควรรู้

รถยนต์ยังต้องมีเกียร์ถอยหลัง ใช้ Mikrotik นอกจากจะใช้เกียร์เดินหน้า upgrade เป็นแล้ว การรู้วิธีใช้เกียร์ถอยหลังอย่าง downgrade เป็นการสร้างทางออกฉุกเฉินให้กับตัวเอง แต่นอกจากวิธีในการ downgrade แล้ว มีอะไรอีกบ้างที่เราควรรู้ก่อน Downgrade สามารถดูได้ในคลิปครับ ^_^

pjk

January 4, 2021

เทคนิคการเลือก Fiber Optic Fusion Splicer ให้เหมาะสมกับงาน

เครื่องเชื่อมสาย Fiber Optic มีตั้งแต่ราคาหมื่นไปจนถึงหลักหลายแสน งานของเราควรใช้เครื่องระดับไหนถึงเพียงพอ พร้อมรู้จักโครงสร้างสาย Fiber Optic, Alignment Techonology และเทคนิคการวัด Estimate Loss ที่นอกจากจะทำให้เราเลือกเครื่อง Splice สายได้เหมาะที่สุดกับงานเรา แล้วยังทำให้เราทำงานออกมาได้ดีที่สุดด้วย กับวิทยากรที่เป็นคนเทรนเรื่องนี้ให้กับช่างของ ISP รายใหญ่ต้นๆ ของไทยแห่งหนึ่ง “น้องจั๊ก” และมีคุณ {TonDev} กับผม อ.อู๊ด ร่วมสนทนา

pjk

December 7, 2020

รู้ยัง ว่า License Mikrotik มีทั้งแบบโอนให้ผู้อื่นได้และไม่ได้

License ของ Mikrotik มีทั้งแบบโอนให้ผู้อื่นได้และไม่ได้ มีรายละเอียดอย่างไร มีบอกไว้ใน Video นี้ และถ้าเราต้องการทำ Lab Mikrotik บน Virtualization มีทางเลือกอย่างไรบ้างที่จะไม่ต้องจ่ายค่า License

pjk

December 7, 2020

จับเข่าคุยเรื่อง Proxmox

ระบบ Virtualization ที่มาแรงมากตอนนี้
Proxmox มีดีอย่างไร ทำไมจึงมายืนเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ในวันที่มีระบบอื่นๆ ครองส่วนแบ่งตลาดกันไปแล้วได้ รวมถึงทำความรู้จักองค์ประกอบที่สำคัญอย่าง ceph กับ lxc ซึ่งเป็นระบบบริหาร storage กับ container ที่ทำให้ Proxmox เป็นระบบที่น่าสนใจกันใน Live นี้ครับ
ขอบคุณความเอื้อเฟื้อแบ่งปันความรู้จากวิทยาก คุณต้น กับคุณภู และ อ.โก๋ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

pjk

October 28, 2020

แกะกล่อง Mikrotik hAP ac3

ปกติ Mikrotik จะมีอุปกรณ์รุ่นเล็ก แรงแต่ราคาประหยัด โดยกั๊กเรื่องขนาดของ storage ให้มีข้อจำกัดในการนำไปใช้งาน ทำให้เหมาะกับการใช้ในที่พักเป็นส่วนใหญ่ถึงจะได้เรื่องประสิทธิภาพก็ตาม แต่แล้ว Mikrotik ก็ลดข้อจำกัดดังกล่าวออกไปในรุ่นนี, ตอนนี้ได้ของตัวเป็นๆ มาแล้วเลยแกะกล่องมาฝากกันก่อน
ระหว่างนี้อยากทราบหรืออยากให้ทดสอบเรื่องไหน Comment บอกกันด้วย จะได้ลองทดสอบให้ระหว่างทำ Review, สุดท้ายนี้ ฝาก Subscribe ช่องด้วยนะครับ ถ้าคลิปรีวิวมาแล้วจะได้ไม่พลาดกัน ^_^

pjk

October 22, 2020

รู้จัก Bonding/Link Aggregate ทั้ง 7 Mode ของ Mikrotik

การใช้ Port LAN หลายพอร์ตมาเชื่อมกันเพื่อเพิ่มความเร็วนั้น Mikrotik มีโหมดให้เลือกถึง 7 โหมด และ Hashing อีก 3 แบบ VDO นี้จะบอกเราว่าแต่ละ mode และ hasing แต่ละแบบมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เนื้อหาโดยคุณ @PooH จากกลุ่ม Mikrotik ใน Line OpenCHAT https://bit.ly/MikrotikLineOpenCHAT

pjk

October 7, 2020

เนื้อๆ : ทำ Load balance แล้วเร็วขึ้น ทำไมคนบอกเราได้ Throughput ไม่ใช่ Speed เพราะอะไร?

เมื่อเราทำ Bonding หรือ Load Balance หลายคนเข้าใจว่าเราได้ Speed แต่จริงๆ แล้วเราได้ Throughput, สองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร คุณ Pooh อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ให้เห็นภาพตามได้ด้วยการยกตัวอย่างเช่นสะพานและรถยนต์

pjk

October 7, 2020

สคริปต์ป้องกัน Brute Force แบบ Universal

สคริปต์ป้องกัน Brute Force แบบสารพัดประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายบริการ เพียงแค่เพิ่มหมายเลข Port ของบริการเข้าไป

ข้อดีของสคริปต์นี้เมื่อเทียบกับหลายๆ สคริปต์ที่ใช้กันอยู่คือ…

pjk

October 5, 2020

วิธีแก้ไขเมื่อ Licensed Mikrotik หาย

ถ้าโชคร้าย อุปกรณ์เราไม่ทำงาน ถึงแม้จะ NetInstall ใหม่ได้ แต่เมื่อใช้ WinBox เปิดเข้าไปในตัว RouterOS ระบบก็แสดงข้อความว่า Router Has No Software Key แถมยังแจ้งว่าจะหยุดทำงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากนี้
บทความนี้มีวิธีแก้ไขมาฝากกันครับ

pjk

October 5, 2020

แก้ปัญหา “login failure for user api from x.x.x.x via api”.

Mikrotik ได้เปลี่ยนรูปแบบ connect method เป็นแบบใหม่มาตั้งแต่ RouterOS 6.43 แต่ก็ยังเปิดให้ใช้รูปแบบเดิมไปพร้อมๆ กัน แต่แล้วในที่สุดก็ทำการยกเลิก รูปแบบเดิมออกไปใน RouterOS 6.45.1 ทำให้ API ที่ไม่ได้อัพเดท Code จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้

วิธีแก้ไขคือ…

pjk

October 5, 2020

เรียน Script Mikrotik ตอนที่ 1

หลายท่านทราบกันอยู่แล้ว ว่า Mikrotik สามารถเขียนสคริปต์ได้ และถ้าเราเข้าใจ ศักยภาพที่เราจะนำ Mikrotik ไปใช้งานก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นอีกมาก แต่การเริ่มต้นเข้าใจ Script Mikrotik อาจจะยังไม่ง่ายเพราะไม่ค่อยมีใครทำเนื้อหาตรงนี้ให้อ่านกัน

เลยเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างเนื้อหานี้เพื่อเป็นบันไดก้าวแรกให้กับทุกท่านครับ

pjk

October 5, 2020

ฟัง Mikrotik ร้องเพลง

เพิ่งรู้ว่า Mikrotik ร้องเพลงกับเค้าได้ด้วย เลยทำคลิป CCR ร้องเพลงมาฝากกัน

ใครใช้ Mikrotik รุ่นที่มีลำโพงสามารถดาวน์โหลด หรือก๊อปปี้ Script ไปใส่ในเครื่องเพื่อฟัง Mikrotik ร้องเพลง Super Mario ได้ที่ลิงค์นี้เลยคร๊าบ.. 🙂

pjk

September 30, 2020

OM.G Cable อุปกรณ์ช่วย Hack ที่มาในรูปแบบสายชาร์จ

สายชาร์จที่เห็นอยู่ในภาพด้านล่างนี้ แม้หน้าตาจะดูเหมือนสายชาร์จทั่วไป แต่ที่หัวฝั่ง USB Type A ได้มีการฝังอุปกรณ์ที่จะปล่อยสัญญาณ WiFi พร้อม Web Server ด้านใน ดังนั้นหากใครสักคนยืมสายชาร์จนี้ ซึ่งมีทั้งหัวแบบ Lighting, Micro USB และ Type C จากเราไปเสียบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อชาร์จโทรศัพท์ เราก็สามารถใช้โทรศัพท์ของเราเชื่อมต่อกับ WiFi ที่ฝังอยู่ที่หัวสาย

pjk

September 29, 2020

อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าทำงานได้จริงหรือ?

นำอุปกรณ์ป้องกันผ่าฟ้ากว่า 11 รุ่นมาทดสอบว่าตัวใดทำงานได้จริง ปรากฏว่า 9 ใน 11 นอกจากป้องกันไม่ได้ ยังเอาตัวไม่รอดอีกด้วย

ไปดูกันครับว่าตัวไหนรอดตัวไหนไม่รอด ^_^

pjk

September 25, 2020

Fail Over บน Mikrotik อย่างใช้ได้จริง Recursive Routing ที่ใช้กับเน็ตแบบไม่ Fix IP ได้ โดย @{tondev} พ่อมดไอที

เปลี่ยนไปใช้เน็ตสำรอง เมื่อเน็ตเส้นหลักล่มแบบใช้งานได้จริง ด้วยการทำ Recursive Routing ซึ่งปกติจะต้องใช้กับระบบที่มีการ Fix IP แต่คุณต้นมี Script (แจกสคริปต์อีกแล้ว) ที่จะช่วยให้เราใช้ความสามารถชั้นเลิศของ Recursive Routing ได้แม้จะใช้เน็ตตามบ้านทั่วไปที่ไม่มี Fix IP

บรรยายโดย @{tondev} พ่อมดไอที จากกลุ่ม Mikrotik ใน Line OpenCHAT https://bit.ly/MikrotikLineOpenCHAT

pjk

September 24, 2020

สิ่งควรทราบก่อนเอา Script Mikrotik ที่แจกกันมาใช้งาน โดยคุณ @ppui

ก่อนนำสคริปต์ดีๆ ของ Mikrotik ที่มีคนแชร์ไปใช้งาน ควรทราบอะไรบ้าง เพื่อไม่ใช่ว่านำไปใช้แล้วนอกจากไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ แถมบางครั้งทำให้ระบบรวนซะอีก นำทีมคุยโดยคุณ @ppui จากกลุ่ม Mikrotik ใน Line OpenCHAT https://bit.ly/MikrotikLineOpenCHAT

pjk

September 24, 2020

มี 2 VLAN แล้วอยากให้เรียกหากันได้ด้วย Computer Name ทำอย่างไร (แจก Script) โดยคุณ {tondev} พ่อมดไอที

วิธีการคือใส่ Script ลงใน DHCP Server เพื่อให้สร้างชื่อใน DNS ของระบบ จากนั้นเครื่องที่อยู่ภายใต้ Router เดียวกัน ไม่ว่าจะกี่ VLAN ก็จะสามารถเรียกหากันได้ โดยตัวสคริปต์สามารถก๊อปปี้ได้ตามที่อยู่ใต้ Video ได้เลยครับ โดยคุณ {tondev} พ่อมดไอที จากกลุ่ม Mikrotik ใน Line OpenCHAT https://bit.ly/MikrotikLineOpenCHAT

pjk

September 23, 2020

การใช้งานและประโยชน์ของ VLAN แบบเข้าใจง่ายๆ โดยคุณ PooH

รู้จัก VLAN โดยหลายครั้งที่อธิบาย การใช้งานและเทคนิคไปพร้อมกันอาจจะทำให้ VLAN ดูเป็นเรื่องยาก ดังนั้นในคลิปนี้คุณ Pooh จึงเลือกที่จะอธิบายและประโยชน์ และองค์ประกอบในการสร้างระบบ VLAN เพื่อให้เกิดความเข้าใจ แล้วค่อยไปต่อยอดกับเรื่องการ Config ระบบ VLAN ในภายหลังได้ง่ายขึ้น

pjk

September 23, 2020

9 ข้อควรทราบ เพื่ออุดช่องโหว่จาก Ransomware, Virus, Worm ฯลฯ

1. ช่องทางการเข้ามาของ Ransomware
2. สร้าง Security Awareness ให้ End users
3. เปิด Features ในการป้องกัน Malicious Website ของ Browser
4. Remote Access อย่างปลอดภัย
5. ไม่มีงบ หรืองบน้อย จนต้องหาโหลดของฟรีมาใช้
6. ใช้ Alert และ Report ต่างๆ ของ Antivirus และ Firewall
7. ฺBackup สม่ำเสมอ และแยกออกจากระบบหลัก
8. รู้จักความสามรถขั้นสูงของ Ransomware
9. ตรวจสอบระบบ Security และอัพเดท Patch ของ OS+Software

pjk

September 23, 2020

8 เรื่องที่คนอยากรู้มากที่สุดจากกลุ่ม Mikrotik ใน Line OpenCHAT (ตัวเต็ม)

ตอบ 8 ปัญหาที่เจอบ่อยและคนอยากรู้เกี่ยวกับ Mikrotik กับ Guru จากห้อง Mikrotik ใน Line OpenCHAT คุณ @{tondev} พ่อมดไอที, คุณ @PooH!, คุณ @ppui และเสริมทัพด้วย @Ripmilla / อ.ศุภเดช และผม อ.อู๊ด (ใครยังไม่อยู่ในห้อง เข้ามาแจมกันได้ที่ https://bit.ly/MikrotikLineOpenCHAT)

1. VLAN + Multi Subnet เมื่อไหร่ ควรรวม/ควรแยก
2. 2 VLAN เรียกกันได้ด้วย Computer Name ทำอย่างไร
3. ระวังก่อน เอาสคริปต์ที่คนแชร์มาใช้
4. Recursive Routing คือ? / ทำไม router ทุกตัวควรใช้
5. AP ตัวเดียว แรงๆ รับเครื่องลูกได้ 200 เครื่อง น่าใช้จริงหรือ?
6. รวมความเร็ว LAN หลายพอร์ตเข้าด้วยกัน

pjk

September 21, 2020

อุดช่องโหว่และลดความเสี่ยงจาก Ransomware (ตัวเต็ม)

ชวนมาคุยเรื่อง Ransomware ในแบบผู้ดูแลระบบคุยกัน จากตัวจริงเสียงจริงครับ ท่านนึงเป็น Channel Manager ของผลิตภัณฑ์ที่ต่อสู้ Ransomware ได้โดยตรง กับอีกท่านที่มีลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เคยโดน Ransomware โจมตีถึง 2 ครั้ง จนตัดสินใจติดตั้งระบบป้องกัน Ransomware ไปกว่า 600 Licensed ให้กับคอมพิวเตอร์ในองค์กร มาดูกรณีศึกษาจากของจริงกันครับว่าได้ผลลัพธ์อย่างไร
กับ คุณอารยะ พรประพันธ์ ตำแหน่ง Channel Manager บริษัท Panda ประเทศไทย และคุณเฉลิมพงษ์ อัศวทวีกุล์ GM บริษัท แอสเทลพลัส

pjk

September 17, 2020

อะไรที่มือใหม่(ทำงานเน็ตเวิร์ก)คิดว่าโอเค แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่

อะไรที่มือใหม่คิดว่าโอเค แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ แล้วถ้าทำต่อไปจะเกิดอะไร แล้วที่ควรทำคืออะไร อาจารย์ทั้ง 3 ท่านมีคำตอบให้ มาคุยกันครับ, ท่านที่มีคำถามเกี่ยวกับ Mikrotik สามารถเตรียมแล้วถามในช่วงท้ายรายการได้เลยครับ

pjk

May 31, 2020

EP2 – How different and Why Mikrotik WiFi station have so many mode [Thai]

WiFi Mikrotik ว่ามีทั้งโหมด Station, Station Bridge, Station Pseudobridge และ Station WDS ใช้โหมดไหนให้ผลลัพธ์ต่างกันอย่างไร
L2 transparency แบบเทียบเท่าบน Access Point ทั่วไปแตกต่างยังไงเมื่อเทียบกับ L2 transparency แบบแท้ทรูบน Mikrotik คลิปนี้มีคำตอบครับ ^_^

pjk

April 27, 2020

How different and Why Mikrotik WiFi station have so many mode [Thai] EP.1 of 2

WiFi Mikrotik ว่ามีทั้งโหมด Station, Station Bridge, Station Pseudobridge และ Station WDS ใช้โหมดไหนให้ผลลัพธ์ต่างกันอย่างไร

L2 transparency แบบเทียบเท่าบน Access Point ทั่วไปแตกต่างยังไงเมื่อเทียบกับ L2 transparency แบบแท้ทรูบน Mikrotik

คลิปนี้มีคำตอบครับ ^_^

pjk

April 24, 2020

ตอน 6/2 กำหนดมือถือให้เป็นเบอร์ภายในสำนักงาน – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

เพียงโหลดแอปและทำการตั้งค่าให้ขึ้นทะเบียนกับตู้ PBX ของเรา โทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นก็จะกลายเป็นโทรศัพท์ภายในสำนักงาน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่สำนักงานหรือว่าอยู่นอกสำนักงาน ลูกค้าก็สามารถติดต่อเราได้เสมอ

pjk

April 23, 2020

ตอน 6/1 นำเบอร์ภายในไปใช้นอกสำนักงาน – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

เทคโนโลยีโทรศัพท์ IP PBX เราจะนำโทรศัพท์ที่มีเบอร์ต่อภายในสำนักงานไปไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือสำนักงานย่อย ลูกค้าก็สามารถติดต่อเราได้ด้วยการโทรเข้าเบอร์สำนักงานเพียงหมายเลขเดียว

pjk

April 23, 2020

ตอน 5 เปลี่ยน​เสียง​พักสายเป็น​เสียง​โฆษณา​ – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

เปลี่ยนเวลาลูกค้ารอสายให้เป็นโอกาสในการสร้างยอดขายหรือประชาสัมพันธ์ โดยกำหนดให้ HTS824 เล่นไฟล์เสียงที่เรากำหนดเอาไว้

pjk

April 23, 2020

ตอน 4/2 ระบบตอบรับและโอนสายอัตโนมัติ – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

แบ่งได้ว่าเป็นภายในเวลาทำการ, นอกเวลาทำการ, กรณีโอนสายแล้วปลายทางสายไม่ว่าง ให้ re-direct สายกลับไปที่โอเปอเรเตอร์ ฯลฯ

pjk

April 23, 2020

ตอน 4/1 การจัดการหมายเลขภายใน – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

การกำหนดหมายเลขภายในทั้ง Analog และ SIP Phone รวมถึงการกำหนดกรุ๊ป เพื่อเป็นพื้นฐานการต่อยอดกับการทำงานเป็นแผนก และระบบตอบรับอัตโนมัติ

pjk

April 23, 2020

ตอน 3/2 กำหนดการโทรออกให้ประหยัดค่าใช้จ่าย – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

วิธีการกำหนดให้ IP PBX ประหยัดค่าโทรศัพท์ ด้วยการเลือกสายที่มี Promotion เหมาะสมกับหมายเลขโทรออกแบบอัตโนมัติ

pjk

April 23, 2020

ตอน 3/1 กำหนดค่าสายนอกและควบคุมการโทรออก – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

วิธีการกำหนดค่าสายนอกทั้งแบบ Analog และ SIP Account รวมถึงควบคุมการโทรออกว่าใครรับสายได้อย่างเดียว ใครโทรออกได้ ใครโทรทางไกลได้ ฯลฯ

pjk

April 23, 2020

ตอน 2/1 การกำหนดค่าแบบง่ายๆ ด้วย Wizard – แนะนำการตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

หลังจากดูคลิปความยาว 14 นาทีของตอนนี้แล้ว เราจะสามารถเซ็ตระบบ IP PBX ที่โทรติดต่อหากันได้ทั้งภายในและภายนอกขึ้นมาหนึ่งระบบทันที

pjk

April 23, 2020

ตอน 1 สเปคและการรีเซ็ตระบบ – วิธีตั้งค่า Panasonic KX-HTS824 Hybrid IP PBX

HTS824 เป็นตู้ PBX Hybrid ที่ราคาไม่แรง แต่กลับมีลูกเล่นเยอะเกินตัว รองรับทั้งโทรศัพท์แบบ Analog และ IP Phone, มีระบบตอบรับ โอนสายอัตโนมัติ, voice mail, conference room และอื่นๆ

pjk

April 23, 2020

เปิดเผยวิธีคิดคะแนนสอบเซอร์ฯ Mikrotik

เวลาสอบจะได้รู้เขารู้เรา โดยเฉพาะข้อสอบประเภทหนึ่งข้อ แต่หลายคำตอบ จะได้เป็นแนวทางเราควรทำอย่างไรกับมันดี หากเจอคำตอบที่ไม่แน่ใจ 🙂

pjk

April 9, 2020

การ Convert Prepaid License เป็น RouterOS CHR P1

ถ้าเรามี License RouterOS x86 L4 อาจจะได้มาจากงาน MUM หรืออบรมหลักสูตร Mikrotik ทำไมเราไม่ควรนำไปแปลงเป็น RouterOS x86 แต่ควรนำไปแปลงเป็น RouterOS CHR P1 และจะแปลงไปเป็น CHR P1 อย่างไร?

pjk

February 10, 2020

Mikrotik Workshop / 4 เทคนิคพิเศษที่เราใช้ในการทำงานจริง

อ.พงษ์พิพัฒน์ กับ อ.ศุภเดช ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมอบรมคอร์สพิเศษ Mikrotik กับ 4 เทคนิคที่อาจารย์ทั้งสองใช้จริงในการทำงาน โดยรายได้ทั้งหมดจากการอบรมครั้งนี้จะนำไปมอบให้กับโครงการจัดหารถบริจาคโลหิต รพ.พุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา

pjk

September 24, 2019

รับงานเน็ตเวิร์กในอาคารสูงควรทราบอะไรบ้าง?

เน็ตอาคารสูงจะแพงกว่าเน็ตบ้านเยอะ มาดูกะนครับว่าเพราะอะไร ใครจะรับงานอาคารสูงจะได้เตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ต้องมีเพิ่มเติมจากงานทั่วไป 🙂

pjk

August 26, 2019

GNS3 สำหรับ Mikrotik RouterOS ตอนที่ 2

ในตอนนี้เราพูดถึงการเปลี่ยนสัญลักษณ์, การเชื่อมเน็ตเวิร์กจำลองสู่โลกภายนอก, รู้จัก Virtual PC ของ GNS3 และคำสั่งเบื้องต้น รวมถึงการเชื่อมต่อ Winbox ให้สามารถเข้าไปควบคุม RouterOS ในระบบทดสอบจำลองได้

pjk

June 7, 2019

GNS3 สำหรับ Mikrotik RouterOS ตอนที่ 1 (การติดตั้ง)

วิธีใช้ GNS3 ทำ Lab เน็ตเวิร์กด้วย Mikrotik RouterOS บนระบบจำลอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์จริง ทำให้สามารถทดสอบระบบที่ต้องใช้ Mikrotik หลายตัวเช่น VPN, Load Balance ได้อย่างง่ายๆ แล้วยังสามารถเก็บสถานะการทดสอบเป็นระยะเพื่อต่อยอด หรือเพื่อทดสอบในหลายๆ รูปแบบ

pjk

June 5, 2019

VLAN แบบใหม่ของ CRS328 Mikrotik ดีอย่างไร มีอะไรต้องระวัง และสคริปต์ช่วยงานยามฉุกเฉินในการเซ็ตค่า

การกำหนด VLAN แบบใหม่ของ Mikrotik ดีอย่างไร และมีอะไรต้องระมัดระวังบ้าง พร้อมสคริปต์ช่วยตอนฉุกเฉิน

สคริปต์ที่พูดถึงใน Video ครับ 🙂

pjk

May 29, 2019

ฝึก Mikrotik ผ่าน YouTube กับมาเรียนที่ Mikrotik Tutorial

http://www.mikrotiktutorial.com
หลายท่านที่มาอบรมกับเราเคยศึกษาด้วยตัวเองผ่าน YouTube มาก่อน บางท่านศึกษาผ่าน YouTube เป็นปี เราเลยขอสัมภาษณ์ความรู้สึกว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร, ขอบคุณสำหรับ Feedback อันมีค่าที่ผู้เข้าอบรมมีให้กับเรามา ณ ที่นี้ด้วยครับ

pjk

February 25, 2019

การอบรบ Mikrotik แบบนี้ตรงกับที่คุณมองหาอยู่หรือเปล่า?

http://www.mikrotiktutorial.com
การอบรม Mikrotik ลักษณะนี้ตรงกับที่คุณมองหาอยู่หรือเปล่า?
ขอบคุณสำหรับ Feedback อันมีค่าที่ผู้เข้าอบรมมีให้กับเรามา ณ ที่นี้ด้วยครับ

pjk

February 25, 2019

เปิดระบบเก็บสถิติการใช้เน็ตบน Mikrotik

Mikrotik ให้เครื่องมือในการเก็บสถิติต่างๆ เช่นการใช้ Bandwidth, CPU, Disk, Memory มากับตัว RouterOS อยู่แล้ว เพียงแต่โดยปกติมันจะทำงานเมื่อเราไปเปิดใช้ ในคลิปนี้นอกจากเราจะไปดูว่าเปิดใช้อย่างไร แล้วเราจะการตั้งค่าส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการทำงานที่สมบูรณ์แบบไปพร้อมๆ กัน

pjk

January 8, 2019

การคอนฟิกระบบของ Mikrotik แบบแบ่งส่วน และไม่ยึดติดฮาร์ดแวร์

Config Mikrotik ให้มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการดูแล หรือเปลี่ยนรุ่นของอุปกรณ์ได้ เมื่อมีการอัพเกรด หรือแม้แต่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์กระทันหันเนื่องจากระบบมีปัญหา ควร Config อย่างไร

pjk

August 25, 2018

Script-Sys คืออะไร และวิธีป้องกันใน 10 นาที

ทำความรู้จัก Script-sys และจุดโหว่ที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของ Mikroti พร้อมวิธีป้องกัน ในเวลา 10 นาที
https://facebook.com/mikrotikTutorial
https://www.facebook.com/groups/mikrotiktutorial

pjk

August 4, 2018

ทดสอบ Switch POE ส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสาย LAN ได้ไกลกี่เมตร

หลายคนบอกว่า ถ้าจะใช้ POE จ่ายไฟไปพร้อมกับสายแลน ไฟฟ้าจะวิ่งได้ไม่ไกล ระยะสายแลนที่ใช้จะได้ไม่ถึง 100 เมตรเหมือนเวลาที่เราใช้สายเพื่อส่งข้อมูลอย่างเดียว งั้นเรามาดูกันครับว่า POE สามารถวิ่งได้บนสายแลนไกลเท่าไหร่ 🙂

pjk

August 3, 2018

Batch file ในการสร้าง folder ที่มีชื่อเป็น วันที่และเวลา

เขียน batch file ที่จะก๊อปปี้ข้อมูลเก็บไว้ โดยให้มีชื่อ folder ปลายทางเป็นวันเวลาของแต่ละครั้งที่ทำการก๊อปปี้ข้อมูล

ลิงค์โหลดสคริปต์อยู่ด้านล่างข้อความนี้ ส่วน video เป็นการอธิบายการทำงาน เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์พลิกแพลงการใช้งานเพิ่มเติมเองได้ครับ 🙂

pjk

July 13, 2018

ไขปริศนา วิธีการเข้าหัวสาย LAN

ทำไมเวลาเข้าหัวสายแลน ถึงต้องสลับสีไปมา บางคนลองต่อแบบไม่สลับสีก็สามารถใช้งานได้ แต่มันให้ผลลัพธ์ดีเท่ากันจริงเหรอ? จริงๆ การเข้าหัวแลนมีมาตรฐานอยู่เรียกว่า T-568A และ T-568B ที่หลายคนสงสัยว่ามาตรฐานไหนดีกว่ากัน หรือใช้ผสมกันแล้วจะมีปัญหาอะไรหรือไม่? 🙂

pjk

June 5, 2018

การทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าเว็บที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้

มีคนที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ถามมาเรื่องการทำให้คอมพิวเตอร์ที่ลูกใช้ปลอดภัยจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งสืบเนื่องมาจากคลิปก่อนหน้านี้ ผมเลยทำคลิปนี้ที่น่าจะไม่ยากสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค ในการเซ็ตค่าบนเครื่งคอมพ์ที่เป็น Windows 10

pjk

May 15, 2018

ระบุให้ยูสเซอร์ใช้ DNS ที่เราเป็นผู้กำหนดเท่านั้น

redirect ให้ทุกคนในองค์กร ไม่สามารถใช้ DNS อื่นนอกจากที่ถูกกำหนด ดัดหลังยูสเซอร์รู้ดี ชอบกำหนดค่า DNS เอง เพื่อหลีกเลี่ยงนโยบายการใช้อินเตอร์เน็ตของหน่วยงาน

pjk

May 15, 2018

ทดสอบประสิทธิภาพ Ubiquiti EdgeRouter

ทดสอบ Ubiquiti EdgeRouter ที่ความเร็วสูง เสถียร์ ใช้งานไม่ยาก และที่สำคัญไม่แพง เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่มองหา Router ที่ทน สเถียร์ แต่เซ็ตไม่ยากเหมือน Mikrotik 🙂

pjk

May 9, 2018