เปิดโลกเน็ตเวิร์กความเร็วสูง 25/40/100Gbps SFP28/QSFP+/QSFP28
เน็ตเวิร์กที่มีความเร็วกว่า 10Gbps อย่าง 25/40/50/100Gbps เริ่มมีค่าต่างๆ ที่เราไม่เคยเห็นในเน็ตเวิร์กแบบเดิมที่ใช้กันมา ศึกษารายละเอียดไว้ก่อน เจอของจริงจะได้ “เอาอยู่” ครับ ^_^
เน็ตเวิร์กที่มีความเร็วกว่า 10Gbps อย่าง 25/40/50/100Gbps เริ่มมีค่าต่างๆ ที่เราไม่เคยเห็นในเน็ตเวิร์กแบบเดิมที่ใช้กันมา ศึกษารายละเอียดไว้ก่อน เจอของจริงจะได้ “เอาอยู่” ครับ ^_^
Mikrotik ออก Access Point รุ่น cAP XL ac มาพร้อมกับสายอากาศออกแบบใหม่ที่ทั้งรับและส่งสัญญาณดีกว่ารุ่น cAP ac ถึง 100% ด้วยเสายอากาศที่ gain สูงกว่าเดิม ในราคาสูงกว่ารุ่นเดิมประมาณ 700 บาท (cAP ac ราคา $US79 ส่วน cAP XL ac ตั้งราคาที่ $US99)
จากเหตุการ IP Cloud ของ Mikrotik ไม่อัพเดท IP Address เป็นเวลานานเกือบ 24 ชั่วโมง ทำให้วันนี้ฝ่าย IT วุ่นวายกันพอสมควร โดยเฉพาะบริษัทไหนที่ต้องมีการ WFH ทำให้เข้า VPN ไม่ได้เป็นจำนวนมาก
Mikrotik เริ่มเปลี่ยนวิธีออกแบบอุปกรณ์ในตระกูล CCR ใหม่ มาพร้อมทั้งราคาที่ถูกกว่าและประสิทธิภาพที่ดีกว่ากับ Option ต่างๆ มากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนทำให้ CCR รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีราคาถูกที่สุด แต่แรงข้ามรุ่นพี่ไปอย่างน้อยสองรุ่น เนื้อหาเข้มข้นจนต้องขอบอกว่า อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อ Mikrotik ในตระกูล CCR ก่อนได้ดูเนื้อหาในวิดีโอนี้ครับ ?
เราเริ่มใช้ประโยชน์จากเน็ตตามบ้านกันมากขึ้น คำว่า Dynamic DNS เลยใกล้ตัวเรามากขึ้น ถ้ามี Dynamic แปลว่ามี Static ด้วย แล้วทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร มีความสามารถอะไรบ้าง คลิปนี้คลิปเดียวสรุปไว้ทั้งสองเรื่องครับ
มีคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ CCR2004-16G-2S+ หลังไมค์ เหมือนๆ กันอยู่ 2 คำถาม เลยนำมาเล่าสู่กันฟังก่อนครับ โดยเฉพาะคำถามแรก
จากเดิมที่เราใช้สายระดับความเร็ว 10Gbps หรือน้อยกว่า ถ้าต้องการเชื่อมอุปกรณ์สองตัวข้ามรุ่นหรือยี่ห้อ แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้จะมีค่าที่เราต้องใส่ใจหรืออาจจะต้องเข้าไปช่วยกำหนดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ speed negotiate กับ Duplex mode
แต่กับสายทีความเร็ว 25Gbps หรือเร็วกว่า จะมีโหมดเพิ่มขึ้นมาอีกตัวนั่นก็คือ FEC Mode (Forward Error Correction) ซึ่งหากอุปกรณ์สองตัวตั้งค่าโหมดนี้ไม่ตรงกันก็มีผลทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ อย่างไรก็ดี ต้องบอกตรงนี้ก่อนว่า การเปิดโหมดนี้จะส่งผลต่อ Latency ที่จะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องเปิดแหละ
Mikrotik ออก Winbox 3.29 พร้อม 2 features แก้ปัญหาที่เราเจอกันมานาน
2 features ที่เพิ่มขึ้นคือ
1. เมนู Windows ที่ทำให้เรากระโดดไปยังหน้าต่างที่เราเปิดทิ้งเอาไว้ได้โดยตรง แก้ปัญหาต้องเปิดหน้าต่างใหม่เพราะหาหน้าต่างเดิมไม่เจอ ใช้วิธีเปิดใหม่ง่ายกว่า จนมีสารพัดหน้าต่างล้นจอ
2. แยกเมนูการเลือก column ออกมาเป็นอีก Windows หนึ่งต่างหาก ซึ่งถ้าใครเคยใช้จะรู้ว่าของเดิมเป็นหน้าต่างที่ยาวมากๆๆๆๆ แต่ตอนนี้ถูกแยกออกมาแล้ว และสามารถเลือก column ที่ต้องการได้ทีเดียวหลายคอลัมน์ไม่ต้องเลือกที่ละอัน และเลื่อนหน้าจอเยอะๆ อย่างที่เคยเป็น
มาแล้ว CCR2004 ที่มีพอร์ต 1Gbps ethernet ในตัวถึง 16 port พร้อม SFP+ 10Gbps อีก 2 พอร์ต ยังคงใช้ CPU เดียวกับ CCR2004-1G-12S+2XS ที่เปิดตัวในปีที่แล้ว เป็นอุปกรณ์ Mikrotik ที่มีความเร็วในการทำงานต่อ Core สูงที่สุด และจากการทดสอบที่ทำขึ้นในตอนรีวิวของ Mikrotik Tutorial ปีที่แล้ว พบว่าหลายๆ กรณีทำงานได้แรงกว่า CCR1016 เพียงแต่ที่หลายๆ คนเสียดายกันก็คือ CCR2004 ที่เปิดตัวปีที่แล้ว เป็น sfp+ 10Gbps ถึง 12 ports และมีพอร์ต 1Gbps ethernet เพียงพอร์ตเดียว ทำให้การจัดซื้ออาจจะต้องซื้อ switch ที่มีพอร์ต sfp+ เสริมอีกตัวหนึ่ง
วิดีโอแนะนำ Mikrotik RB5009 พร้อม Subtitle ภาษาไทย เอามาฝากคนนอนดึกครับ ?
– 9 พอร์ต (7x1Gbps, 1×2.5Gbps and 1x10Gbps SFP+)
– Full-sized USB 3.0
– ตัวเล็กขนาดใส่ได้ 4 ตัวพร้อมกันใน Rack 1U
– CPU ARM 64 bit 4 cores ARMv8 1.4 GHz CPU
– เร็วกว่า RB4011 เท่าตัว ?