NANA Memory ของ MikroTik ฟังเร็วแค่ไหน

อุปกรณ์ Mikrotik ทุกตัวจะมีการใช้หน่วยความจำประเภท NAND Memory หน่วยความจำประเภทนี้ มีข้อดีคือข้อมูลจะยังคงอยู่แม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง แต่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูล แล้วถ้าเราเอามาใช้เก็บ Log หรือเก็บฐานข้อมูล Hotspot, The DUDE ก็จะทำให้มีการเขียนบ่อยขึ้น อายุของ NAND Memory ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ตามปริมาณการเขียน แต่อายุที่ว่า ยาวแค่ไหน? คำนวณอายุอย่างไร? เราใช้ไปแล้วเท่าไหร่ดูยังไง? ต้องเป็นห่วงไหม?

NAND Memory ใน Mikrotik มีหลายรุ่น แต่วิธีคำนวณอายุใช้วิธีเดียวกัน Memory พวกนี้จะแบ่งขนาดออกเป็นบล็อกๆ บางรุ่น 1 บล็อคขนาด 8KB บ้าง 16KB บ้าง สมมุติเรามีพื้นที่ 128MB โดยมีขนาดบล็อค 16KB ก็จะเท่ากับ 128MB/16KB = 8,192 บล็อค แต่ละบล็อคมีอายุเขียน 100,000 ครั้ง ดังนั้นรุ่นนี้ก็จะมีอายุการเขียน 819,200,000 ครั้ง จากภาพประกอบที่แสดงอายุการใช้งาน NAND ในเมนู System->Resource แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนี้เขียนไปแล้ว 8,728,085 ครั้ง จึงยังมีอายุเขียนได้อีก 810,471,915 ครั้งเท่านั้นเอง 555 ?

เลยจะเห็นอยู่บ่อยๆ ที่ทาง Mikrotik จะฮึดฮัดเวลาใครไปถามเรื่องอายุ NAND Memory ใน forum ของ Mikrotik เพราะเค้าบอกว่ามันทนจนไม่น่าจะต้องพูดถึง

อย่างไรก็ดี ทาง Mikrotik ได้มีข้อแนะนำอย่างเป็นทางการดังนี้ครับ1. ถ้า bad block มีปริมาณสูงกว่า 5% แนะนำให้ทำการ NetInstall ใหม่ จะช่วยลดจำนวน Bad Block ลงได้2. ถ้าใช้ Mikrotik ในงาน Caching, Logging Server ทาง Mikrotik แนะนำให้ใช้ External Drive หรือ Memory เสริมภายนอก (ส่วนตัวผมมองว่าใช้เป็นรุ่นที่มี m.2 หรือ CHR เพื่อทำงานบน HDD, SSD, M.2 ไปเลยเสถียรกว่า)

และอีกปัจจัยที่เราไม่ควรใช้ NAND เก็บข้อมูลที่ Active มากๆ ก็คือความเร็วในการทำงานของ NAND นั่นเอง ที่ถ้าใช้มากๆ มันจะไปดึงประสิทธิภาพโดยรวมของ RouterOS ลงเนื่องด้วยความเร็วในการอ่านเขียนของหน่วยความจำประเภทนี้ เปรียบเหมือนเครื่องคอมพ์ ที่ใช้ HDD กับ SSD ที่แม้จะเป็นเครื่องรุ่นเดียวกัน แต่เครื่องใช้ SSD จะทำงานได้เร็วกว่าเพราะไม่ถูก I/O ของ HDD ดึงให้ช้าลง

————————

เรียน Mikrotik และเน็ตเวิร์กด้วยภาพ กับคอร์สออนไลน์เนื้อหา 11 ชั่วโมง และภาพประกอบอีก 185 สไลด์
โดย อ.พงษ์พิพัฒน์ ธัญวิรภาพ (Mikrotik Certified Trainer) สนใจติดต่อ LINE ID: @mikrotik #เรียนเน็ตเวิร์กด้วยภาพ