คนไทยเป็นอันดับต้นๆที่จะสอบเซอร์ฯ ในระบบออนไลน์ของ Mikrotik

ยินดีกับคนไทยกลุ่มแรกที่จะสอบเซอรฯ Mikrotik ด้วยระบบ Remote Online ของ Mikrotik ในวันเสาร์นี้ ที่นอกจากจะเป็นกลุ่มแรกของไทยแล้ว ยังเป็นกลุ่มแรกๆ ของโลกอีกด้วย ในการสอนออนไลน์ของ Mikrotik นั้น จะต้องสอบด้วย Browser ที่เป็น Chrome Engine เช่น Google Chrome, Microsoft Edge, Brave หรือ Browser อะไรก็ได้ที่ใช้ Chrome Engine โดยจะต้องมีการติดตั้ง Chrome Extension ที่ชื่อว่า “Mikrotik Training”

pjk

August 13, 2021

งบเท่ากัน ได้งานไม่เท่ากัน

Mikrotik แต่ละรุ่น มีสเปคที่แตกต่างกันไป บางรุ่นแพงกว่าแต่ประสิทธิภาพไม่ได้ดีกว่า แต่อาจดีกว่าในแง่การทนอุณหภูมิได้โหดกว่า มี Storage เพื่อเก็บ Log ได้ มากกว่า / อ่านรายละเอียดในภาพประกอบ
CPU ยอดนิยมอย่าง IPQ-4018 ถูกใช้ในอุปกรณ์ตั้งแต่ราคาสองพันไปจนถึงเกือบหกพัน ทั้งหมดประสิทธิภาพเท่ากันเพราะ CPU เดียวกัน ความเร็ว CPU เท่ากัน แต่ราคาที่แตกต่างกันมาจากองค์ประกอบต่างๆ เปรียบได้กับเครื่องคอมพ์ที่ CPU อาจจะเป็น i5 เหมือนกัน แต่องค์ประกอบแตกต่างกัน บางตัวแรมเยอะ บางตัวพื้นที่เก็บข้อมูลเยอะ บางตัวอาจจะมี sound card ชั้นเยี่ยม ซึ่ง Mikrotik เองก็เช่นเดียวกัน

pjk

August 9, 2021

Mikrotik CCR2004-16G-2S+ (Thai Subtitle)

มาแล้วครับคลิปจาก Mikrotik แนะนำ CCR2004-16G-2S+ รุ่นใหม่ที่ราคาถูกกว่า CCR1009 แต่แรงกว่า CCR1009 แถมแรงไปแตะรุ่น CCR1016 กันเลย
เป็นการนำเสนอที่ใช้ภาษาพูดในการแปลยากจริงๆ ใช้เวลาเกือบทั้งวันเลย ถ้าดูแล้วฝากกดไลค์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคร๊าบ.. ?

pjk

July 31, 2021

CCR2004-16G-2S+ แรงกว่า CCR1009 แต่ถูกว่า

มาแล้ว CCR2004 ที่มีพอร์ต 1Gbps ethernet ในตัวถึง 16 port พร้อม SFP+ 10Gbps อีก 2 พอร์ต ยังคงใช้ CPU เดียวกับ CCR2004-1G-12S+2XS ที่เปิดตัวในปีที่แล้ว เป็นอุปกรณ์ Mikrotik ที่มีความเร็วในการทำงานต่อ Core สูงที่สุด และจากการทดสอบที่ทำขึ้นในตอนรีวิวของ Mikrotik Tutorial ปีที่แล้ว พบว่าหลายๆ กรณีทำงานได้แรงกว่า CCR1016 เพียงแต่ที่หลายๆ คนเสียดายกันก็คือ CCR2004 ที่เปิดตัวปีที่แล้ว เป็น sfp+ 10Gbps ถึง 12 ports และมีพอร์ต 1Gbps ethernet เพียงพอร์ตเดียว ทำให้การจัดซื้ออาจจะต้องซื้อ switch ที่มีพอร์ต sfp+ เสริมอีกตัวหนึ่ง

pjk

July 29, 2021

RB5009UG+S+IN พith ไทย Subtitle

วิดีโอแนะนำ Mikrotik RB5009 พร้อม Subtitle ภาษาไทย เอามาฝากคนนอนดึกครับ ?
– 9 พอร์ต (7x1Gbps, 1×2.5Gbps and 1x10Gbps SFP+)
– Full-sized USB 3.0
– ตัวเล็กขนาดใส่ได้ 4 ตัวพร้อมกันใน Rack 1U
– CPU ARM 64 bit 4 cores ARMv8 1.4 GHz CPU
– เร็วกว่า RB4011 เท่าตัว ?

pjk

July 23, 2021

ติดตามการใช้เน็ตของเครื่องในเน็ตเวิร์กด้วย Mikrotik RouterOS

ดูได้แบบละเอียดว่าเครื่องใดใช้ bandwidth เท่าไหร่แบบ real time พร้อมปริมาณข้อมูลที่รับเข้าและส่งออก ของ Mikrotik RouterOS ด้วย Attix5 Traffic monitor

pjk

July 20, 2021

IP ไหน รับ/ส่ง ข้อมูลแค่ไหน รู้หมด

กำลังทำคลิปติดตามการใช้งานอินเตอร์เน็ตของแต่ละ IP เลยเปิดระบบทิ้งเอาไว้ เพิ่งเห็นว่าอยู่ดีๆ iPad ที่เปิดทิ้งไว้เฉยๆ ส่งข้อมูลออกไประดับ 8MB/sec อยู่ช่วงหนึ่ง (กราฟขา Download จะพุ่งขึ้นส่วน Upload จากข้างในออกไปจะพุ่งลง)

pjk

July 19, 2021

ใช้ SwOS กับ Switch รุ่นใหญ่เรื่องนี้ “ต้องรู้”

ที่พูดถึงประเด็นนี้เนื่องจาก Switch ของ Mikrotik หลายรุ่นเราสามารถเลือกได้ว่าระหว่างจะลง OS เป็น RouterOS หรือ SwOS โดย OS แต่จะตัวจะมีจุดเด่นด้อยต่างกันไป ในกรณีของ SwOS มีจุดเด่นที่ แม้ไม่ผ่านการอบรมการใช้งาน แต่ก็สามารถใช้งานได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญคือไม่ต้องห่วงเรื่องประสิทธิภาพ Option ที่เปิดให้ตั้งค่าแต่ละตัว ล้วนเป็นอะไรที่ Hardware รองรับ จึงแน่ใจว่า switch เราจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

pjk

July 12, 2021

Router on a Stick คืออะไร?/ ใช้ดีไหม

Router on a stick หรือบางทีก็เรียกกันอีกชื่อว่า One armed routers เป็นการเชื่อมเน็ตเวิร์กหลายวงเข้ากับ port ของ router เพียงพอร์ตเดียว แต่ข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายเป็นข้อมูลเน็ตเวิร์กหลายวงผ่านการทำ VLAN โดยแต่ละวงจะมี router เป็นตัวกั้น broadcast domain แล้วตัว router จะทำหน้าที่ inter-VLAN ในกรณีต้องมีการติดต่อข้ามวง เป็นวิธียอดนิยม เพราะการเชื่อมต่อ Uplink ของ Switch ก็มักจะทำด้วยการเชื่อมพอร์ตเดียวแล้วส่งข้อมูลจาก VLAN ทั้งหมดด้วยพอร์ตนั้น แล้วเราก็นำพอร์ตนั้นเข้า router ได้เลย

pjk

July 10, 2021

เพิ่มความเร็ว VPN Mikrotik ด้วยการเข้ารหัสที่ Hardware Acceleration รองรับ

การเข้ารหัสเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ใช้ CPU ค่อนข้างมาก อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นของ Mikrotik มาพร้อมความสามารถในการช่วยแบ่งเบาภาระในการประมวลผลของการเข้ารหัสโดยฝังความสามารถที่ชื่อว่า Encryption Hardware Acceleration มาในตัว CPU เพื่อช่วยเข้ารหัสโดยเฉพาะ ซึ่งก็แน่นอนว่า อุปกรณ์แต่ละรุ่นที่มี CPU แตกต่างกันไป จะรองรับ algorithms ในการเข้ารหัสที่แตกต่างกันไปเช่นกัน

pjk

July 9, 2021
1 5 6 7 23