ทำไม Bandwidth Test บนตัว Mikrotik ไม่น่าเชื่อถือ?

สาเหตุที่เราไม่สามารถเชื่อถือตัวเลข โปรแกรม Bandwidth Test ที่อยู่ในเมนู Tools ของ RotuerOS ได้ ยิ่งเป็นการทดสอบเฉพาะทดสอบบนอุปกรณ์รุ่นกลางหรือเล็กที่นิยมใช้กันจำนวนมาก ผลที่ได้ก็ยิ่งคลาดเคลื่อนไปมาก เพราะหลายครั้งเราจะสังเกตุเห็นว่า เมื่อทดสอบ Bandwidth CPU ที่วิ่งขึ้นไปถึง 100% นั้นไม่ได้มาจากการประมวลผลเรื่อง Routing เพียงอย่างเดียว แต่พลังในการประมวลผลเองกว่าครึ่งถูกใช้ไปกับการทำงานของตัว Bandwidth เอง ความเร็วที่เห็นจึงไม่ใช่การทำงานสูงสุดของอุปกรณ์ที่โปรแกรม Bandwidth Test กำลังทำงานอยู่

ดังนั้นหากต้องการทดสอบ Bandwidth ควรทำบนอุปกรณ์อื่น ในลักษณะที่มีการเชื่อมต่อโดยมีอุปกรณ์ Mikrotik อยู่ตรงกลางระหว่างกั้นระหว่างเครื่องที่รันโปรแกรม Bandwidth Test ที่หัวและท้าย เพื่อให้ CPU ของ Mikrotik ถูกใช้ไปในการส่งผ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ดี การทดสอบหา Bandwidth ที่ Mikrotik แต่ละรุ่นสามารถรองรับได้สูงสุดปัจจุบันทำได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะรุ่นใหม่ๆ ทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ ใช้ CPU แบบ Multi-Core ซึ่งการทดสอบจาก src/dst เดียว ผลลัพธ์ที่ได้ อาจจะไปติดอยู่ที่กำลังประมวลผลของ CPU core เดียว แตกต่างจากเวลาที่ใช้งานจริง ที่ src/dst เกิดขึ้นจากคอมพิวเตอร์จำนวนหลายๆ เครื่องที่ใช้งานพร้อมกัน ทำให้การกระจายตัวไปยัง cpu ต่างๆ ทำได้ดีกว่า ส่งผลให้ค่า bandwidth ในการใช้งานจริง อาจจะแตกต่างไปจากค่าที่ใช้จากการทดสอบ

ยังมีปัจจัยในการนำ Mikrotik ไปใช้งานจริงอีกหลายเรื่องที่คำนวณจากตัวเลขเป็นเส้นตรง (Linear) ไม่ได้ แล้วจะค่อยๆ นำมาทยอยเล่าสู่กันฟังนะครับ 🙂
————————
เรียน Mikrotik และเน็ตเวิร์กด้วยภาพ กับคอร์สออนไลน์เนื้อหา 11 ชั่วโมง และภาพประกอบอีก 185 สไลด์ โดย อ.พงษ์พิพัฒน์ ธัญวิรภาพ (Mikrotik Certified Trainer) สนใจติดต่อ LINE ID: @mikrotik #เรียนเน็ตเวิร์กด้วยภาพ